"วิทยุชุมชนคนของแผ่นดิน นาโพธิ์เรดิโอ FM.8825MHz."รักในหลวง ห่วงชุมชน คนของแผ่นดิน สร้างถิ่นไทยเจริญ"

ฟังรายการจากวิทยุออนไลน์
Naphoradio Online 24 Hrs.
สรุปข่าวประจำวัน โดย ประสงค์ เนืองทอง
รายการ อรุณสวัสดิ์กุสุมาลย์ มณฑล

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3
เวลา 06.00-07.00 น.เว้นวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์

สุพจน์ ลอยพิลา
-เปิดโลกการศึกษาสู่อาเซี่ยน ช่วง คนกันเอง

จันทร์-ศุกร์ 14.00-15.00 น.

เมฆ เมืองนคร
-ลูกทุ่งสนธยา
-เครดิตยูเนี่ยนสัมพันธ์
จันทร์-ศุกร์ 18.00-20.00 น.

นาโพธิ์น้อย ม.7
หอกระจายข่าว
Radio Lessons and events of the Bible. ฟังรายการ"ตามรอยพระคัมภีร์ ทุกวัน

 
 




 
 
บริการดาวน์โหลด
ตารางการอบรมหลักสูตรพุทธวจน วังสวนกล้วย อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร
สารวัดท่าแร่ ปีที่29 ฉบับที่25 สัปดาห์ที่12 เทศกาลธรรมดา 22-28 มิถุนายน14
สารวัดปีที่ 29 ฉบับที่ 23 สมโภชพระจิตเจ้า 8 - 14 มิถุนายน14
 
 
MovieOnline1Online 2  
TV Online
Radio Online  ชมวีดีโอ สดจากห้องส่งนาโพธิ์
Radio Vatican  
รุ่งอรุณวิทยา
วิทยุรัฐสภา
อสมท.สกลนคร
ดอกคูนเรดิโอ สัมฤทธิ์โปรโมชั่น
พันธมิตร วาริชเรดิโอ
สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ
     และโทรทัศน์ จังหวัดสกลนคร
วิทยุแห่งประเทศไทย จ.สกลนคร
florafm-ฟลอร่ามิวสิค
สถาบันพุทธวจนวังสวนกล้วย
ข่าวสาร จาก
วัดนักบุญ
มารีอามักดาเลนา

ประมวลภาพงานมงคลสมรสบิว
2013-11-23

รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน
ประวัติอาเซียน10ประเทศ
Asean Radio Stations
ฟังเพลงและรายการวิทยุจากประเทศอาเซี่ยน
more Cambodia Brunei Darussalam   Myanmar
Philippines Malaysia
All Asia Radio Station Singapore Vietnam Laos

 
 

 

 ประวัติความเป็นมาชาวไทโส้ และเมืองกุสุมาลย์มณฑล

                                                                         โดย ประสงค์ เนืองทอง ศศ. บ.

 

 

 

ตำนานพงศาวดารแห่งการกำเนิดเผ่าพันธุ์

       ในพงศาวดารเมืองแกง ( ปัจจุบันคือเมือง เดียนเบียนฟู อยู่ในภาคเหนือของเวียตนามต่อกับประเทศลาว)
กล่าวถึงตำนานการเกิดของมนุษย์และต้นกำเนิดของชาวผู้ไทยว่า เกิดจากเทพยดา ๕ พี่น้อง กับเทพธิดาทั้ง ๕
ซึ่งเป็นภรรยาของเทพยดาดังกล่าว เทพยดา ๕ พี่น้องกับเทพธิดาทั้ง ๕ เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์มาช้านานจวนจะจุติ
( ตายเพื่อที่จะเกิดใหม่) จึงอธิษฐานร่วมจิตเนรมิตรน้ำเต้าขึ้นมาเทพทั้ง ๑๐ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยมาตกบนภูเขา
ที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางทิศตะวันออก เป็นระยะทางเดิน ๑ วัน น้ำเต้าได้แตกออกมาเป็นมนุษย์ชายหญิง ๑๐ คน
โดยมนุษย์ที่ออกมาหน้าตาไม่เหมือนกัน ข่าแจะออกมาก่อน ผู้ไทยดำออกมาเป็นที่ ๒ ลาวพุงออกมาเป็นที่ ๓ ฮ่อ( จีน) ออกมา
เป็นที่ ๔ แกว ( ญวน) ออกมาเป็นที่ ๕ มนุษย์ทั้ง ๑๐ เดินลงจากภูเขา มนุษย์ ๔
พวกหลังได้ลงไปอาบน้ำชำระกายและดื่มน้ำในหนองฮกหนองฮายที่เชิงเขาซึ่งเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และเย็นใสสะอาด
ใครได้อาบได้กินแล้วร่างกายจะผ่องใส สะอาดงาม และมีสติปัญญารู้คิดราชการบ้านเมืองได้ แต่ข่าแจะ ซึ่งออกมาก่อนกลัวหนาว
ไม่ยอมลงไปอาบน้ำในหนองดังกล่าว คนพวกนี้จึงมีรูปกายหมองคล้ำมัวมอมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
( บทความวิจัยเรื่อง วิถีครอบครัวและชุมชนอีสาน ๑๑ กลุ่มชาติพันธุ์ : กรณีผู้ไทย
( สุวิทย์ ธีรศาศวัต และณรงค์ อุปัญญ์ ดูอ้างอิง)

     พวกผู้ไทย ลาว ฮ่อ และญวน ได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเมือง ผู้ไทยตั้งบ้านเมืองที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า
ต่อมาผู้ไทยได้เพิ่มจำนวนถึง ๓๓,๐๐๐ คน และขยายตัวออกไปเป็นหลายเมือง เป็นประชากรส่วนใหญ่ของพื้นที่ ซึ่งเรียกว่า
สิบสองจุไทย เมื่อขุนลอคำสิ้นชีพ ขุนบรมราชาได้เป็นเจ้าเมืองแถงต่อมา ขุนบรมมีบุตรชื่อขุนลอ ซึ่งเป็นผู้มาตั้งเมืองหลวงพระบาง
เจ้าเมืองแถงสืบต่อจากขุนลอคำจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ( พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) มาจากเมืองแถงก็มี มาจาก
เมืองที่อยู่ในเขตลาวก็มี มาจากเมืองที่อยู่ในเขตญวนก็มี มีจำนวนรวมกัน ๑๔ คน แต่เจ้าเมืองแถง ๘ คน หลัง ๖ คน แต่งตั้ง
โดยเจ้าเมืองญวน ๒ คน แต่งตั้งโดยเจ้าเมืองหลวงพระบางแสดงให้เห็นอิทธิพลของญวนค่อนข้างมากในระยะหลัง
การอพยพของชาวผู้ไทยเป็นจำนวนมากจากเมืองแถง หรือนาน้อยอ้อยหนูนั้น พระโพธิวงศาจารย์ ( ติสโส อ้วน)
ิกล่าวไว้ในประวัติชนชาติผู้ไทยว่า สาเหตุของการอพยพเกิดจากสาเหตุสองประการ ประการแรก “ บังเกิดการอัตตคัตอดอยาก”
ประการที่สอง เกิดจากความขัดแย้งระหว่างท้าวก่าหัวหน้าของชาวภูไทยกับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู( ต้นฉบับเรียกเมืองน้ำน้อย
อ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพาชาวผู้ไทยชายหญิงประมาณหมื่นคนมาขอขึ้นกับเจ้าอนุรุทกุมาร เจ้าเมืองเวียงจันทร์ ( คือเจ้าอนุวงศ์
ครองราชย์ ๒๓๔๘– ๒๓๗๑) เจ้าอนุรุทกุมารถามชาวภูไทยว่า เมื่ออยู่เมืองนาน้อยอ้อยหนูเคยประกอบการหาเลี้ยงชีพอย่างไร
ชาวผู้ไทยบอกว่าเคยทำแต่ไร่ ปลูกข้าว( ข้าวไร่) และสวนผลไม้ต่างๆ แต่ทำนาไม่เป็น เจ้าอนุรุทกุมารจึงให้ชาวภูไทยไปตั้งถิ่นฐาน
ที่เมืองวัง ซึ่งเป็นป่าเป็นเขา ไม่ค่อยมีที่ราบ เป็นที่อยู่ของพวกข่าซึ่งไม่ได้ขึ้นกับพวกใด และไม่มีใครปกครอง ชาวผู้ไทยจึงอพยพ
เข้าไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง มีความขัดแย้งกับพวกข่าอยู่บ้าง แต่ข่าสู้ชาวผู้ไทยไม่ได้ก็ยอมขึ้นกับผู้ไทย เจ้าอนุรุทกุมารจึงแต่งตั้ง
ให้ท้าวก่าเป็นพระยาก่า ตำแหน่งเจ้าเมืองวังและทุกสิ้นปีให้เมืองวังต้องส่งส่วยมีดโต้ และขวานให้เวียงจันทร์ปีละ ๕๐๐ เล่ม
แต่อย่างไรก็ตามพระยาก่าเห็นว่าเมืองของตนอยู่ติดกับเขตแดนเมืองคำรั้ว ซึ่งเป็นเมืองของชนชาติญวน
พระยาก่ากลัวว่าพวกญวนจะมาตีเอาบ้านเมืองจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง ๕ ปึก ( ปึกหนึ่งหนัก ๕ ชั่ง) ให้แก่เจ้าเมืองคำรั้วด้วย
อย่างไรก็ตามผู้เขียนได้รวมเปรียบเทียบจากคำบอกเล่าตอนหนึ่ง ของคนเก่าโบราณเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนถึงตำนาน
การอพยพของชนพื้นเมืองในภาคอีสานเผ่าต่างๆว่า ล้วนมีความเกี่ยวข้องกันมาเปรียบปานพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องเผ่าผู้ไทย เผ่าย้อ เผ่ากะเลิง เผ่าโย้ยเผ่าข่ากะโซ่ก็ตาม ต่างรับรู้ตำนานที่บรรพบุรุษเล่าสืบต่อกันมา ดังนี้

      ชาวภูไท ( ผู้ไทย) อพยพมาจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู มาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำพวกข่าเมืองวังอ่างคำเป็นอิสระ ไม่มีการ
ส่งส่วยสาอากรแก่เมืองใด แต่ชาวภูไทตระหนักในพระคุณของพระเจ้าศรีสัตตนาคนหุต ( เจ้าอนุรุทกุมาร หรือเจ้าอนุวงศ์ ผู้เขียน)
ดังนั้นเมื่อตั้งหลักฐานบ้านเรือนมั่นคงแล้วจึงส่งส่วยไปถวายเป็นพร้ามีดโต้ปีละ ๓๐ เล่ม ( ตามคำบอกเล่าน่าจะยังไม่รวม
กับขวานด้วย - ผู้เขียน ) ทุกๆ ปี

      ความเรื่องนี้ทราบถึงพวกข่าจึงเกิดความไม่พอใจ พวกข่าเริ่มระแวงและไม่ไว้วางใจเพราะเกรงว่าพวกผู้ไทยนำพวกตนไป
อ่อนน้อมขึ้นต่อกรุงศรีสัตตนาคนหุต จึงคิดจะรวบอำนาจ ปกครองชาวผู้ไทยให้อยู่ในเอื้อมมือ แต่ชาวผู้ไทยรู้ทันจึงคิดจะ
รวบอำนาจปกครองชาวข่าไว้ในทำนองเดียวกัน ในที่สุดชาวผู้ไทยกับชาวข่าก็ใช้กำลังเข้ารบกันเป็นสามารถ
ในระหว่างที่ยังไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะนั้น พ่อขุนพระเยาว์ซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายผู้ไทย( ผู้เขียนสันนิษฐานว่าคือพระยาก่า )
ก็เสนอเงื่อนไขว่า การต่อสู้กันด้วยกำลังมีแต่จะเกิดการล้มตาย ไร้ประโยชน์ เปรียบประดุจสาดน้ำรดกันย่อมต้องเปียกปอน
ทั้งสองฝ่าย การที่ผู้ใดจะเป็นใหญ่เป็นโตปกครองผู้คนนั้นควรเป็นบุคคลที่มีบุญวาสนา มีสติปัญญาอันแก่กล้าและการที่จะรู้
ว่าบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะกระทำได้โดยการเสี่ยงบุญวาสนากันที่หน้าผา โดยให้ทั้งสองฝ่ายจัดทำหน้าไม้ไปยิงหน้าผา
เสี่ยงบารมี หากลูกหน้าไม้ไปปักเสียบติดหน้าผา ถึง ๓ ครั้ง ผู้นั้นแหละสมควรจะได้เป็นใหญ่เป็นโตปกครองผู้คนได้
ชาวข่าก็เห็นด้วยและตกลงจะเสี่ยงบารมีตามนั้น

      ฝ่ายชาวข่าได้สร้างหน้าไม้ที่แข็งแรง ยาวถึง ๓ ศอก ด้วยหวังจะให้ลูกหน้าไม้เกิดกำลังพุ่งแรงจะได้ฝังติดกับหน้าผาได้
ส่วนชาวผู้ไทยไม่ได้ทำเช่นนั้น กลับทำหน้าไม้ขาอ่อนและใช้ “ ขี้สูด” ( เป็นส่วนที่ได้จากรังของแมลงชนิดหนึ่งซึ่งทำรัง
อยู่ในพื้นดิน เพื่อเป็นที่เก็บสะสมน้ำหวาน มีลักษณะเป็นยางเหนียวสีดำช่างทำแคนนิยมใช้เป็นวัสดุอุดแคน) ติดไว้ที่ปลาย
ลูกไม้ ถึงวันนัดหมายต่างจัดขบวนแห่แหนหน้าไม้ของฝ่ายตนไปยังหน้าผาที่นัดหมาย ฝ่ายข่าเป็นฝ่ายยิงก่อน ยิงหน้าไม้ไป
สามครั้งลูกหน้าไปไปกระทบหน้าผาซึ่งเป็นหินแข็งก็กระเด็นตกลงมาทั้งสามครั้งสามครา ฝ่ายชาวผู้ไทยเป็นผู้ยิงทีหลัง
ลูกหน้าไม้พุ่งไปกระทบหน้าผาเบาๆ ขี้สูดที่ติดอยู่ปลายลูกหน้าไม้ซึ่งมีความเหนียวหนับทำให้ลูกหน้าไม้จับติดกับหน้าผา
อย่างง่ายดาย ชาวข่ามองเห็นเป็นอัศจรรย์จึงพากันอ่อนน้อมยอมอยู่ใต้ปกครองของชาวผู้ไทยตามสัญญา แต่ยังมีชาวข่า
บางส่วน ไม่ยินยอม จึงพากันหลบหนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ตามถ้ำตามเขา ฝ่ายผู้ไทยจึงได้ยกกำลังออกไปสกัดที่หน้าผาแห่งหนึ่ง
แต่ไม่ทันจึงติดตามร่องรอยไปจนถึงหน้าผาอีกแห่งหนึ่ง พบรอยเท้าใหญ่เล็กหายเข้าไปในถ้ำ ฝ่ายผู้ไทยจึงใช้พริกแห้ง
มากองที่ปากถ้ำแล้วจุดไฟเผาเพื่อให้ควันรมเข้าไปในถ้ำ ชาวข่าที่หลบซ่อนอยู่ภายในถ้ำทนสำลักควันไฟที่เผาพริกไม่ไหว
ก็พากันออกมายอมอ่อนน้อมแต่โดยดี หน้าผาที่ชาวผู้ไทยรมควันพริกแห่งนี้เรียกว่า“ ผาอูด” ชาวข่าเห็นว่าพ่อขุนพระเยาว์
เป็นผู้มีบุญบารมีแก่กล้า จึงได้ยกลูกสาวหัวหน้าให้ชื่อเจ้ากล่ำ

รัชกาลที่ ๓ พ. ศ. ๒๓๖๙
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

        ๒พระเจ้าอนุรุทธกุมาร( เจ้าอนุวงษ์) เวียงจันทร์ ๑ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์คิดกบฏ
ให้บุตรที่นครจำปาศักดิ์ยกทัพมายึดเมืองอุบลและเรื่อยเข้ามา ส่วนเจ้าอนุวงษ์กับเจ้าสุทธิสารเข้ายึดนครราชสีมา
ลวงว่ากรุงเทพฯกำลังรบกับอังกฤษ และจะยกมาช่วยกรุงเทพฯ เมื่อเข้านครราชสีมาได้แล้วก็กวาดต้อนผู้คนอพยพไปเวียงจันทร์
ในตอนนั้นได้ปรากฏวีระสตรีของไทยผู้หนึ่ง คือ “ ท่านหญิงโม” ซึ่งได้ถูกกวาดต้อนไปด้วยได้ใช้อุบายตีพวกเจ้าอนุแตกกลับไป
ต่อมาภายหลังได้เป็น “ ท้าวสุรนารี”
ทางกรุงได้ทราบ ๒จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นจอมทัพยกขึ้นมาปราบปรามกองทัพ
เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์ ์โดยมีเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์) เป็นแม่ทัพหน้า เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้ยกกองทัพขึ้นมา
ปราบปรามและใน ที่สุดได้มาตั้งทัพอยู่ที่เมืองนครพนม ส่วนพระบรมราชา( มัง) เจ้าเมืองนครพนม ได้ถูกเจ้าอนุวงษ์บังคับให้
้พาหลบหนีกองทัพไทยข้ามโขงไปตามลำน้ำเซบั้งไฟ ( อยู่ตรงข้ามกับอำเภอธาตุพนม) และไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองมหาชัย

    โดยหลักฐานอ้างอิงจากพงศาวดารเมืองนครพนม ฉบับ พระยาจันตประเทศธานี ( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร ปี พ. ศ. ๒๔๕๗ )
ฯลฯ ดูอ้างอิง กองทัพไทยได้ติดตามกวาดล้างไปถึงเมืองมหาชัยกองแก้ว ๑และจับตัวเจ้าอนุวงษ์ได้โปรดให้นำตัวตัวมาขังไว้ในกรุงเทพฯ จนตาย
ในตอนนี้เอง ๓จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เรียบเรียงไว้ว่า ๓จึงได้คุมตัวเจ้านครจำปาศักดิ์( หมาน้อย) ลงมายังกรุงเทพฯ ฐาน
หย่อนสมรรถภาพ และเลยถึงแก่พิลาลัยที่กรุงเทพฯ เมื่อ พ. ศ. ๒๓๖๒ พระบรมราชา( มัง) เจ้าเมืองนครพนมและพระพรหมอาษา
( จุลณี)เจ้าเมือง มหาชัยกองแก้ว ได้พาครอบครัวหนีกองทัพไทยไปหลบซ่อนอยู่ในเขตแดนญวน จนต่อมาพระพรหมอาษา

เจ้าเมืองมหาชัยได้ถึงแก่กรรมในแดนญวน

     ๑พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงมีพระทัยโกรธเคืองญวนเป็นอันมากที่แสดงตนเป็นอริกับไทย ด้วยการอุดหนุนเจ้าอนุเป็นกบฎขึ้น
จึงโปรดให้ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงห์เสนีย์) ยกกองทัพไปทางเขมรแล้วให้เลยไปถึงไซง่อน ก็พอดีปะทะกับกองทัพญวน
การสงครามกับญวน คราวนี้ผลัดกันแพ้ชนะกินเวลาถึง ๑๕ ปี ในที่สุดก็เลิกลบกัน และทรงอภิเษกให้ นักองค์ด้วงที่เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
เมื่อรัชกาลที่ ๒ ขึ้นครองราชสมบัติในกัมพูชาต่อไป ทรงพระ นามว่า “ สมเด็จพระบริรักษ์รามาธิบดี” ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ

นายวิลเฟรด เบอร์เซตต์ (Wilfred Burchett) นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ ซึ่งได้เดินทางไปเยือนถิ่นของข่าหรือลาวเทิงได้เขียนไว้ว่า
: “ ประวัติของพวกลาวเทิงนั้น ทั้งน่ามหัศจรรย์จับใจและน่าเศร้าสลด. พวกลาวเทิงแตกแยกกันออกเป็นเผ่าต่างๆ ถึงราวสี่สิบเผ่า,
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามป่าเขาทางลาวใต้และในที่ราบสูงที่เรียกว่า ที่ราบสูงบริเวณ (Bolevens Plateau.)
ในสมัยหนึ่งนั้น ข่าเผ่าเดียวเคยมีจำนวนคนถึง ๓๐๐, ๐๐๐ คน, แต่ได้ถูกลดจำนวนลงจนเหลือเพียงไม่กี่พันเพราะการสังหารหมู่ของพวกคนไทย.
นิยายเก่าๆ ของลาวเทิงยังมีเล่ารำลึกถึงทุ่งนาที่นองไปด้วยเลือด, แม่น้ำลำธารอืดตันและหุบเขากองท่วมท้นไปด้วยทรากศพ.
พวกที่รอดพ้นการสังหารหมู่มาได้ก็ถูกพวกคนไทยกวาดต้อนไปเป็นข้าทาษหรือขายให้แก่ลาวลุ่มเพื่อใช้เป็นทาส.
นี่แหละคือที่มาแห่งนามของเขาที่เรียกว่า ข่า. การต่อสู้ของข่าทางลาวใต้สลบสลายไปใน พ. ศ. ๒๓๖๒



พ.ศ. ๒๓๗๐

        การอพยพญาติพี่น้องทางฝั่งซ้ายมาฝั่งขวา ตามพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 4 กล่าวว่า "ลุศักราช 1189 ปีกุน
"นพศก ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๐ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เป็นกบฏต่อประเทศไทย เจ้าอนุวงศ์แพ้แก่ฝ่ายไทย จึงกวาดต้อนและริบทรัพย์สิน
ช้าง ม้า ผู้คนมาไว้ในเขตแดน

 

พ . ศ. ๒๓๗๗

        ๒พระยามหาอำมาตย์( ป้อม อมาตยกุล) ได้ยกทัพขึ้นมาตั้งอยู่ที่เมืองนครพนมแล้วเกณฑ์กองทัพเมืองนครพนม, เมืองมุกดาหาร,
เมืองเขมราฐ, เมืองอุบลราชธานี เมืองยโสธร ยกทัพข้ามโขงไปกวาดต้อนพวกข่า, กะโซ่, กะเลิง แสก, ย้อ, และผู้ไทย
ให้อพยพมาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ในท้องที่เมืองนครพนม, เมืองมุกดาหาร, เมืองสกลนคร และเมืองกาฬสินธุ์

 

พ . ศ. ๒๓๗๘
ปีมะแม ตรีศก จ . ศ. ๑๑๙๗

      ๒หลังจากที่พระพรหมอาษา ( จุลณี) เจ้าเมืองมหาชัยกองแก้วถึงแก่กรรมแล้ว อุปฮาด ( คำสาย) และราชวงษ์ ( คำ)
เมืองมหาชัยกองแก้วได้นำชาวเมืองมหาชัยกองแก้วซึ่งเดิมก็เป็นชาวนครพนมข้ามโขงกลับมาเพื่อขอพึ่งบรมโพธิสมภาร
และสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร พระยามหาอำมาตย์แม่ทัพจึงให้ไปตั้งเมืองอยู่ที่ริมน้ำหนองหาร บริเวณเมืองสกลทวาปีเก่า
( เมืองสกลทวาปีเดิม เป็นคนจากเมืองกาฬสินธุ์แต่ได้อพยพไปตั้งอยู่ที่พนมสารคาม และเมืองประจันตคามหมด) ต่อมาอุปฮาด
( คำสาย) เมืองมหาไชยกองแก้วได้ถึงแก่กรรม

     จากบันทึกปูมเมืองสกลนครบันทึกว่า ๓อุปฮาดติเจา( คำสาย) ราชวงศ์ ( คำ) และท้าวอินทร์ น้องราชวงศ์ ( คำ)
หลังจากที่กองทัพไทยตีเมืองมหาชัยกองแก้วแล้ว ได้หลบหนีกองทัพไทยไปอยู่ตามภูเขา หาได้หลบหนีเข้า
แดนญวนไม่ ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ที่เหลือลงมาสู่บรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงสยามได้เข้าหาแม่ทัพที่เมืองสกลทวาปี
ี( สกลนคร) เจ้าอุปราช ( ติสสะ) พร้อมกับพระมหาสงครามแม่ทัพ จึงได้แต่งตั้งให้ขุนศรีโยธานำตัวราชวงศ์ ( คำ) ท้าวอินทร์
ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนางเทพ นางจวง ขึ้นมาตามราชวงศ์( คำ) ท้าวอินทร์สามี
ให้ตั้งบ้านเรือนที่เมืองสกลทวาปี และให้ข้ามโขงไปเกลี้ยกล่อมกวาดต้อนครอบครัวที่เมืองมหาชัยกองแก้วให้ข้ามโขงมา
ตั้งภูมิลำเนาในเมืองสกลทวาปี

      จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้น ทำให้ผู้เขียนสันนิษฐานได้ว่า ท้าวเพี้ยเมืองสูง( พระอรัญอาสา) ได้พาข่ากระโซ่
่ ตลอดบ่าวไพร่จาก ๕ เมืองบ้ำ แห่งเมืองมหาชัยกองแก้ว ซึ่งเป็นเมืองที่มีไทโส้อยู่มากที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา( หินบูรณ์
ภูแบ่ง แนวเดียวกันกับเทือกเขาภูพาน) เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกุษมาร( กุดขมานหรือกุสุมาลย์ในปัจจุบัน) บริเวณบ้านเมือง
เก่าในปัจจุบัน ในช่วง ปี ๒๓๗๘ นี้เอง เนื่องจากเป็นปีที่ใกล้เคียงกับการแต่งตั้งให้เป็นเมืองกุสุมาลย์มณฑล ซึ่งตามเหตุและผล
การแต่งตั้งดังกล่าว หมู่บ้านจะต้องมีบ้านเรือนและมีผู้คนเป็นกลุ่มมากแล้ว

     บ้านกุสุมาลย์ในปัจจุบัน เดิมชื่อ “ บ้านกุดขมาน” ตามชื่อลำห้วยขมานที่เรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า “ ลำห้วยขมาน” ก็เพราะตามริมห้วย
มีต้นขมานขึ้นอยู่มากมาย ต้นขมานนี้บางคนเรียกต้นหมากหูลิง ท่านที่มาตั้งบ้านเรือนครั้งแรกจึงตั้งชื่อบ้านว่าบ้านกุดขมาน ตามชื่อ
ของลำห้วย แต่คนโบราณบางท่านก็เรียกว่า บ้านกุดสมาน บ้าง หรือ บ้านอุชุมานบ้าง ยังมีคนเก่าแก่เล่าว่าคนที่มาตั้งบ้านเรือนบาง
ท่านก็เรียก “ บ้านศรีสัตตนาค” ก็มี

     เมื่อบ้านกุดขมานได้ตั้งขึ้นแล้ว ก็มีสมัครพรรคพวกครอบครัวญาติวงศ์ทางฝั่งซ้ายอพยพมาเพิ่ม มีบุตรหลาน สืบต่อกันมา
จนมีประชาชนพลเมืองหนาแน่นเป็นบ้านใหญ่ มีความเจริญอุดมสมบูรณ์มีที่นา ที่สวนสำหรับ ทำกินไม่อดอยาก มีลำห้วยขมาน
ลำห้วยโพธิ์ และลำห้วยกะเพอเป็นแหล่งน้ำจับปลาเป็นอาหารประจำวัน ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติของป่าก็มีสัตว์ป่านานา
ชนิด เช่น ควายป่า วัวป่า เก้ง กวาง ละมั่ง กระต่าย กระแต หรือแม้แต่แรด ซึ่งเป็นสัตว์ที่หายากก็มี ดังหลักฐานปรากฏว่า
มีลำห้วยแห่งหนึ่งที่อยู่ทางด้ายทิศตะวันออก ของบ้านกุสุมาลย์ชาวบ้านเรียกลำห้วยแห่งนี้ว่า "ห้วยแฮด" ซึ่งเป็นลำห้วยที่แรด
ลงไปนอนแช่ปลัก เพื่อพักคลายความร้อนในฤดูแล้ง และเรียกลำห้วยแฮดมาจนถึงปัจจุบันนี้ สัตว์จำพวกนกก็มีมากมาย
เช่น ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกยูง นกกระสา นกเขา นกกระทา นกแก้ว นกขุนทอง แต่ในปัจจุบันสัตว์ป่าเหล่านี้ เหลืออยู่
ู่น้อยชนิดนัก

      จากการสอบถามคนเก่าแก่หลายท่านเล่าสืบต่อกันมาว่า บรรพบุรุษอพยพมาจากเมือง “ อู” ( เท่าที่ดูแผนที่ของประเทศลาว
เมืองนี้อยู่ทางตอนเหนือซึ่งติดกับประเทศจีน ในแผ่นดินเขียนว่า“ อูเมือง”) เมือง “ วัง” เมือง “ มหาชัย” เมือง “ ยมราช”
จากคำบอกเล่าของคนเก่าโบราณเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนนอกจากนั้นยังมี ๗ผู้ไทยและข่ากะโซ่ที่อพยพม่า
จัดตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มและตั้งชื่อว่าบ้านนาโพธิ์นามน( บริเวณทุ่งนามนบ้านกกส้มโฮงปัจจุบัน) และยังตั้ง ๗บ้านโพนขาว
บ้านหนองเบ็น ( บ้านทั้งสองต่อมาได้ร้างไป) ตั้งแต่เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎต่อกรุงเทพฯ เมื่อ พ. ศ. ๒๓๗๐ ครอบครัวทั้งสองบ้า
นถูกกวาดต้อนไปอยู่ภาคกลางที่เมืองพนัส เมืองพนม เพราะเกรงว่าฝ่ายเจ้าอนุวงศ์จะล่อลวงกวาดต้อนไปเมืองเวียงจันทร์อีก
บ้านกุษมารหรือบ้านกุดขมานได้ตั้งขึ้นแล้ว ก็มีสมัครพรรคพวก ครอบครัวญาติวงศ์ ทางฝั่งซ้ายอพยพมาเพิ่ม มีบุตรหลาน
สืบต่อกันมา จนมีประชากรพลเมืองหนาแน่นเป็นบ้านใหญ่ มีความเจริญ อุดมสมบูรณ์ มีที่นา ที่สวน สำหรับทำกินไม่อดอยาก
มีลำห้วยขมาน ลำห้วยโพธิ์ และลำห้วยกะเพอเป็นแหล่งน้ำจับปลาเป็นอาหารประจำวัน ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติของป่า
ก็มีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ความป่า วัวป่า เก้ง กวาง ละมั่ง กระต่าย กระแต หรือแม้แต่แรดซึ่งเป็นสัตว์ที่หายากก็มี ดังหลักฐาน
ปรากฏว่า มีลำห้วยแห่งหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านกุสุมาลย์ ชาวบ้านเรียกลำห้วยแห่งนี้ว่า “ ห้วยแฮด” ซึ่งเป็นลำห้วย
ที่แรดลงไปนอนแช่ปลักเพื่อพักคลายความร้อนในฤดูแล้ง และเรียกลำห้วยแฮดมาจนถึงปัจจุบัน สัตว์จำพวกนกก็มีมากมาย
เช่น ไก้ฟ้า ไก่ป่า นกยูง นกกระสา นกเขา นกกระทา นกแก้ว นกขุนทอง แต่ในปัจจุบัน สัตว์ป่าเหล่านี้เหลืออยู่น้อยชนิดนัก
นับว่าบ้านกุดขมานเป็นบ้านที่อุดมสมบูรณ์ หมู่บ้านหนึ่งในเวลานั้น

       ความอุดมสมบูรณ์บ้านกุดขมาน เมื่อได้ยินไปถึงพี่น้องญาติวงศ์ที่อยู่ทางฝั่งซ้ายอพยพมาเพิ่มเรื่อย ๆ จนเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ
่มีความเจริญ เท่าเทียมกับหมู่บ้านอื่น ชาวบ้านนับถือพุทธศาสนา และได้สร้างวัดขึ้นสำหรับเป็นที่พำนักของพระภิกษุสามเณร
เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ขึ้น 4 แห่ง คือ วัดธาตุ วัดโพธิ์ วัดกลาง และวัดหนองสิม เป็นท
ี่บำเพ็ญบุญกุศลของ พระพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสในทางพุทธศาสนาสืบต่อกันมา

       พ.ศ. ๒๓๘๓ การอพยพญาติพี่น้องทางฝั่งซ้ายมาฝั่งขวา ตามพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 3 กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า
ครั้นลุจุลศักราช ๑๒๒ ปีชวด โทศก เดือน ๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๘๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริว่า
ฟากโขงตะวันออก คือ พระมหาเทพ พระราชรินทร์ ไปกวาดครัวหัวเมืองขึ้นแก่เมืองเวียงจันทน์ ยังหาได้สิ้นเชิงไม่
จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปฮาดราชบุตรหลานและพระมหาสารคามยกขึ้นไป มีตราไปถึงพระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธร
ให้เกณฑ์คนหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก ไปเกลี้ยกล่อมและกวาดครัวเสียให้หมด

พ . ศ. ๒๓๘๑


       ปีจอ สัมฤทธิศก จ. ศ. ๑๒๐๐ ราชวงษ์( คำ) ) จากเมืองมหาชัยกองแก้ว๔ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมมีตราพระราชสีห์ ลงวันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ ให้เปลี่ยนนาม
เมืองสกลทวาปี เป็นเมืองสกลนคร ทรงแต่งตั้งให้ราชวงษ์( คำ) เป็นพระยาประเทศธานี ( คำ) เจ้าเมือง ( ระหว่าง
พ. ศ. ๒๓๘๑ - ๒๔๑๙ ) ให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาเป็นอุปฮาดเมืองสกลนคร ให้ท้าวอินทร์บุตรอุปฮาด กิ่งหงษา
เป็นราชวงศ์ ให้ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์มาเป็นราชบุตรเมืองสกลนคร และพระราชทานเครื่องยศให้พระยาประเทศธานี( คำ)
มีคนโทถมเงินหนึ่ง ขันหมากเงินหนึ่ง เครื่องในถมสำรับหนึ่ง กระบี่เงินหนึ่ง ปืนคาบศิลาหนึ่งกระบอก อุปฮาด มี ถาดหมาก
คนโทเงินสำรับหนึ่ง ราชวงศ์ มี ถาดหมาก คนโทเงินสำรับหนึ่ง ๒ อนึ่ง เนื่องจากเขตแดนเมืองกาฬสินธุ์, เมืองหนองหาร,
เมืองนครพนม และเมืองมุกดาหารแบ่งเขตแดนกันที่คนละฝั่งของ น้ำหนองหาร จึงมีท้องตราพระราชสีห์ใหญ่ให้เมืองทั้งสี่นี้
แบ่งเขตแดนให้เมืองสกลนคร

 

พ . ศ. ๒๓๘๔

     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระมหาสงครามและเจ้าอุปราช ( ติสสะ) ซึ่งเป็นพระอนุชาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์
แต่ยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร มิได้ร่วมเป็นกบฎด้วยเป็นแม่ทัพยกขึ้นมาตั้งอยู่ที่เมืองนครพนมแล้วยกกองทัพ
ไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายพร้อมด้วยกองทัพเมืองนครพนม , เมืองกาฬสินธุ์ , เมืองสกลนคร, เมืองหนองหาร,
เมืองท่าอุเทน, เมืองหนองคาย เมืองมุกดาหาร, เมืองภูเวียง, เมืองเขมราฐ, เมืองพลาน, เมืองจำพอน( ชุมพร),
เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง ( อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาวปัจจุบัน) บางเมืองผู้คนอพยพหลบหนีเข้าป่าไปเป็น
จำนวนมาก บางพวกก็หลบหนีเข้าไปในเขตญวน( เวียตนาม) กองทัพไทยจุดไฟเผาบ้านเรือนเพื่อมิให้เป็นกำลังแก
่ฝ่ายญวนอีก ( จากพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงษ์) ผู้คนที่อพยพข้ามมาครั้งนั้นได้มาตั้งขึ้นเป็นเมือง
กุฉินารายณ์, เมืองภูแล่นช้าง ในเขตเมืองกาฬสินธุ์, เมืองวาริชภูมิ, เมืองพรรณานิคม, เมืองกุสุมาลย์มณฑล,
เมืองอากาศอำนวย, เมืองวานรนิวาสในเขตเมืองสกลนคร, เมืองรามราช, เมืองเรณูนคร ในเขตเมืองนครพนม,
เมืองหนองสูง ในเขตเมือง มุกดาหาร


รัชกาลที่ ๓ พ . ศ. ๒๓๘๕
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

      พระมหาสงครามเจ้าอุปราชเวียงจันทร์ พระสุนทรราชวงศา มีใบบอกไปยังสมุห์นายก สำนักพระราชวัง รายงานให้ทราบ
ผลการเกลี้ยกล่อม ครอบครัวเมืองต่างๆ เช่นเมืองวัง เมืองตะโปน เมืองพิณ เมืองนอง กวาดต้อนเอาครัวข้ามาเพื่อตัด
เสบียงของญวน ในการกวาดต้อนเกลี้ยกล่อมครั้งนี้ ได้ครัวเมืองที่เป็นข่ากะโซ่จากเมืองมหาไชย รวมทั้งสิ้น ๘๑๒ คน
ชาวภูไทยเมืองกะปอง จำนวน ๓๗๓ คน ชาวภูไทยครัวเมืองวังและครัวเมืองอื่นๆ อีกหลายแห่ง
รวมทั้งสิ้น มีท้างเพี้ยฉกรรจ์ ครัวชายหญิงใหญ่น้อย ๒๕๕๖ คน ณ วันเดือน ๕ ปีขาล จัตวาศก

      ตามประวัติศาสตร์เมืองสกลนคร ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า พ.ศ. พ.ศ. ๒๓๘๕ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ห้ว
โปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์อินไปเกลี้ยกล่อม เจ้าเมืองวังฟากน้ำโขงฝั่งซ้ายให้มา รวมอยู่กับฝั่งขวา ปรากฏว่าบ่าวไพร่ชาวภูไทย
พร้อมด้วยท้าวโรงกลางและบุตรเจ้าเมืองวัง และเพื้ยเมืองสูงกับครอบครัวข่า กะโซ่ก็อพยพมาอยู่ในแขวงเมืองสกลนคร

พ . ศ. ๒๓๘๗
      ๖ท้องตราพระราชสีห์ ถึง เมืองสกลนคร เรื่อง ตั้งเมืองกุสุมาลย์ , เมืองพรรณา

     สารตราเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มหาเสนาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ มาเถิง อุปอาด, ราชวงษ์, ราชบุตร,
ท้าวเพี้ยผู้อยู่รักษาเมืองสกลนคร

     ด้วยพระมหาสงคราม, เจ้าอุปราชเวียงจันทร์, พระยาจันตประเทศธานีเจ้าเมืองสกลนคร ได้พาท้าวโฮงกลาง,
ท้าวอุปราช, ท้าวนวลเมืองวัง, ท้าวเพี้ยเมืองสูง, เพี้ยบุตตราช, เพี้ยอินทรวงษ์ กะโซ่ลงไปแจ้งราชการ
ณ กรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานได้ตั้งน้ำพระพิพัฒน์ให้ท้างโฮงกลาง, เพี้ยเมืองสูง, ท้าวอุปราช, ท้าวเพี้ย
กระทำสัตยาธิษฐานรับพระราชทานถือน้ำพิพัฒน์สัตยานุสัตย์ตามอย่างธรรมเนียม พระมหาสงคราม,
อุปราชเวียงจันทร์ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เมื่อครั้งกรุงเทพมหานครยกขึ้นมาตีเมืองมหาชัย เพี้ยเมืองสูง,
เพี้ยบุตตโคตร, ท้าวบุตต์, ท้าวนาม พวกกะโซ่ ได้เข้าหากองทัพสมัครพาท้าวเพี้ยครอบครัวสวามิภักดิ์เข้ามาสู่
พระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระยามหาอำมาตย์ ์นายทัพนายกองบุตรหลานท้าวเพี้ยจัดแจงให้ครอบครัว
กะโซ่ตั้งอยู่บ้านกุดขมาน แขวงเมืองสกลนคร เป็นครัวท้าวเพี้ย ๖๗, ฉกรรจ์ ๖๑๒, ครัว ๒, ๐๐๐ กับว่าพระมหาสงคราม,
เจ้าอุปราชกับเจ้าเมืองนายทัพนายกอง ยกไปตีเมืองวัง ณ ปี ฉลูตรีศก( จ. ศ. ๑๒๐๓, พ. ศ. ๒๓๘๔)

     เจ้าอุปฮาด, ราชบุตร, ราชวงษ์, ท้าวเพี้ยเมืองวังไปเกลี้ยกล่อมได้ครอบครัวท้าวโฮงกลาง, ท้าวอุปราช, ท้าวนวล,
ท้าววงศ์คีรีเมืองวังสามิภักดิ์พาพวกพ้องพี่น้องท้าวเพี้ยตามมา ได้ปรึกษาพร้อมกันจัดแจงท้าวโรงกลาง, ท้าวอุปราช,
ท้าวนวลท้าวเพี้ยครอบครัวตั้งอยู่ บ้านปะขาวพันนา แขวงเมืองสกลนคร เป็นพระสงฆ์ ๓, สามเณร ๑๖, ท้าว ๙ คน,
เพี้ย ๓๔ คน, รวม ๔๓ คน ฉกรรจ์ ๒๕๕ รวมกัน ๒๙๗ ครัว ๑, ๒๗๗ คน รวมกัน ๒, ๐๐๓ คน จึงนำเนื้อความขึ้น
กราบบังคม ทูลพระกรุณาพา เพี้ยเมืองสูง, เพี้ยบุตต์โคตร, เพี้ยบุตตราช, เพี้ยอินทรวงษ์กะโซ่ ท้าวโฮงกลาง,
ท้าวอุปราช, ท้าวนวลเมืองวัง เข้าฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
จึงทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า เมืองวัง, กะโซ่หัวเมืองลาวฟากของตวันออกเหล่านี้ก็เป็นข้าขอบขัณฑเสมา
กรุงเทพมหานคร มาแต่เดิมพากันไปพึ่งอ้ายญวนเมื่อครั้ง อนุเวียงจันทร์เป็นกบฎ แข็งบ้านเมืองละอย่างธรรมเนียมเสีย
โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพยกข้ามไปทำลาย บ้านเมืองให้ยับเยินเข็ดหลาบ หัวเมืองฟากของตะวันออกที่รู้สึกตัวหมายจะเอา
อ้ายญวนเป็นที่พึ่ง มิได้พาครอบครัวสามิภักดิ์ข้ามมาอยู่หัวเมืองฟากของข้างนี้ ก็ได้มีตราโปรดเกล้าฯ ขึ้นไปถึงเจ้าอุปราช
ท้าวเพี้ยแต่ก่อนว่านายไพร่ครอบครัวหัวเมืองลาวฟากของตวันออกสามิภักดิ์พาครอบครัวมาโดยดี ถ้าอยู่กับหัวเมืองใด
ก็จะโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ทำราชการกับเมืองนั้นตามใจสมัคร์ ถ้ามีครอบครัวบ่าวไพร่สมควรตั้งเป็นเมืองให้ โปรดเกล้าฯ
เป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นกับเมืองใหญ่ จะได้เป็นกรมการบ้านเมืองทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุขโดยทรงพระกรุณาเมตตากับ
นายไพร่ ครอบครัวหัวเมืองลาวเหล่านั้นไม่ให้มีความเดือดร้อนต่อไป ซึ่งเพี้ยเมืองสูง, เพี้ยบุตตโคตร, เพียบุตตราช,
ท้าวนามกะโซ่ ท้าวโฮงกลาง, ท้าวอุปราช, ท้าวนวล, ท้าววงศ์คีรีเมืองวัง, ท้าวเพี้ยพาครอบครัวข้ามมาเป็นคนเมือง
๒, ๐๐๓ คน, กะโซ่ ๓, ๒๐๙ คน รวมกัน ๕, ๒๑๒ คน ไพร่พลครอบครัวก็พอจะตั้งเป็นเมืองได้อยู่แล้ว โปรดเกล้าฯ
ให้ถามท้าว โฮงกลาง, เพี้ยเมืองสูง, ท้าวอุปราชหลานเพี้ยเมืองวัง, กะโซ่ว่าได้ปรึกษาหารือกันกับท้าวเพี้ยครอบครัว
พร้อมมูลกันจะตั้งบ้านเมืองอยู่ตำบลบ้านใดสมัครทำราชการกับเมืองใด ท้าวโฮงกลาง, เพี้ยเมืองสูง, ท้าวอุปราช
บุตรหลานซึ่งไปกรุงเทพมหานคร แจ้งความให้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าครอบครัวตั้งอยู่ บ้านพันนา กะโซ่ไปตั้งอยู่
ู่บ้านกุดขมาน มาหลายครอบครัวไปตั้งเสาเรือนเป็นถิ่นฐานลงมาแล้ว ที่ไร่นาก็พอทำมาหากินได้ไม่ขัดสน
พระยาประเทศธานีบุตรหลานท้าวเพี้ยเมืองสกลนครได้ทำนุนายไพรมาแต่เดิมเห็นใจรักใคร่กันสนิทสนม
พวกนายไพร่ครอบครัวท้าวโฮงกลางเมืองวังขอตั้งอยู่ บ้านปะขาวพันนา กะโซ่ขอตั้งอยู่ บ้านกุดขมาน จะขอ
พระราชทานทำราชการฉลองพระเดชพระคุณขึ้นกับเมืองสกลนคร โปรดเกล้าฯ จะให้ตั้งบ้านเมืองอยู่ตามใจสมัคร
ตามทางพระราชวินิจฉัยแต่เดิม โปรดเกล้าให้ตั้งบ้านปะขาวพันนา, ให้บ้านกุดขมานเป็นเมืองพระราชทานชื่อ
เมืองพรรณา ชื่อ เมืองกุสุมาลย์ ให้ท้าวโฮงกลาง เป็นเจ้าเมืองพรรณา, ให้เพี้ยเมืองสูงเป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์
ท้าวโฮงกลาง, เพี้ยเมืองสูงขอพระราชทานท้าวอุปราชเป็นอุปฮาด, ท้าวนวลเป็นราชวงษ์, ท้าววงศ์คีรีเป็น
ราชบุตรเมืองพรรณา ท้าวบุตตโคตรเป็นอัครฮาด, เพี้ยบุตตราชเป็นอัครวงษ์, ท้าวนามเป็นวรบุตรเมืองกุสุมาลย์
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอุปฮาด, ราชวงษ์, ราชบุตร, อัครฮาด, อัครบุตร, วรบุตรตามท้าวโฮงกลาง,เพี้ยเมืองสูง
ให้กราบบังคมทูลพระกรุณา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทาน ท้าวโฮงกลาง ถาดหมากคนโถเงิน
สำรับหนึ่ง, สัปทนแพรหนึ่ง, เสื้อเข้มขาบก้านแย่งหนึ่ง, ผ้าโพกแพรขลิบหนึ่ง, ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง, ผ้าแพรขาว
ห่มผืนหนึ่ง, ผ้าปูมผืนหนึ่ง ท้าวอุปราช เงินตรา ๑๕ ตำลึง, เสื้อเข้มขาบดอกถี่ตัวหนึ่ง, ผ้าโพกแพรขลิบหนึ่ง, ผ้าดำ
ปักไหมมีซับผืนหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าปูมหนึ่ง ท้าวนวล เงินตรา ๑๐ ตำลึง, เสื้อเข้มขาบดอกเสทินตัวหนึ่ง,
ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง ท้าววงศ์คีรี เงินตรา ๗ ตำลึง, เสื้ออัตลัดดอกลายหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง,
ผ้าเชิงปูมผืนหนึ่ง เพี้ยเมืองสูง เงินตรา ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง, ภาชนะคนโทเงินสำรับหนึ่ง, สัปทนแพรหนึ่ง,
เสื้อเข้มขาบก้านแย่งหนึ่ง, ผ้าโพกขลิบหนึ่ง, ผ้าดำปักทองหนึ่ง, แพรขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าปูมผืนหนึ่ง เพี้ยบุตตโคตร
เงินตรา ๑ ชั่ง ๕ ตำลึง, เสื้อเข้มขาบดอกถี่ตัวหนึ่ง, ผ้าโพกขลิบหนึ่ง, ผ้าดำปักไหมผืนหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง,
ผ้าปูมผืนหนึ่ง เพี้ยบุตตราช เงินตรา ๑ ชั่ง, , เสื้อเข้มขาบดอกเสทินตัวหนึ่ง, ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง,ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง
ท้าวนาม เงินตรา ๑๕ ตำลึง, เสื้ออัตลัดดอกลายตัวหนึ่ง, ผ้าขาวห่มผืนหนึ่ง, ผ้าเชิงปูมผืนหนึง

      แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโฮงกลางเป็น พระเสนาณรงค์, ท้าวอุปราช เป็น อุปฮาด, ท้าวนวล เป็นราชวงษ์ , ท้าววงศ์คีรี
เป็นราชบุตร เมืองพรรณา ตั้ง เพี้ยเมืองสูงเป็นที่ พระอรัญอาสา เจ้าเมือง, เพี้ยบุตตโคตรเป็น อัครอาด, เพี้ยบุตตราช
เป็นอัครวงษ์, ท้าวนาม เป็นวรบุตร เมืองกุสุมาลย์ ขึ้นมารักษาราชการบ้านเมืองครอบครัวบ่าวไพร่ทำราชการฉลอง
พระเดชพระคุณขึ้นกับเมืองสกลนครตามอย่างหัวเมืองน้อยขึ้นกับหัวเมืองใหญ่ ฯลฯ

หนังสือมา ณ วันศุกร์ เดือน ๙ ค่ำ จ. ศ. ๑๒๐๖ ปีมะโรง ( วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ. ศ. ๒๓๘๗)
จากจดหมายเหตุ ร. ๓ จ. ศ. ๑๒๐๖ เลขที่ ๓๔ หอสมุดแห่งชาติ

      ใน พ.ศ. ๒๓๘๗ นี้ เองที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยูหัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองพรรณานิคม เมืองกุสุมาลย์
เป็นเมืองขึ้นตรงต่อเมืองสกลนคร ตั้งให้ท้าวโรงกลางเป็นพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคม ยกบ้านพันพร้าว
เป็นเมืองพรรณานิคม ตั้งบ้านกุสุมาลย์ เป็นเมืองกุสุมาลย์มณฑล ตั้งให้เพี้ยเมืองสูง เป็นหลวงอรัญอาษาเจ้าเมือง
กุสุมาลย์ ท่านหลวงอรัญอาษาได้เป็นเจ้าเมือง รับราชการปกครองลูกบ้านไพร่เมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข พร้อมด้วย
อุปฮาดราชวงศ์และราชบุตร ตามระเบียบแบบแผนการปกครองสมัยนั้น ท่านมีอุปฮาดชื่อท้าวหน่อเมืองสูงซึ่งเป็น
บุตรของท่าน และราชวงศ์อีกท่านหนึ่งชื่อว่าราชวงศ์ฉิมพลี ส่วนราชบุตรนั้นไม่ทราบชื่อ แต่ทราบว่าเป็นญาติของ
ท่าน เหมือนกันคติรับราชการครั้งโบราณ เจ้าเมืองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในเมืองนั้นอุปฮาดมีอำนาจรองลงมา
จากเจ้าเมือง เมื่อเจ้าเมืองเจ็บป่วย หรือไม่สามารถจะมา ปฏิบัติราชการได้ อุปฮาดต้องรับหน้าที่ปฏิบัติราชการแทน
ถ้าหากเจ้าเมือง ล้มหายตายจาก อุปฮาดก็มีสิทธิที่จะรับเลื่อนขึ้น เป็นเจ้าเมืองได้ ส่วนราชวงศ์ก็มีหน้าที่
จะปฏิบัติราชการแทนอุปฮาดได้ ในกรณีที่อุปฮาดเจ็บป่วยไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ ราชบุตรก็มีสิทธิที่จะ
รักษาการ หรือปฏิบัติราชการแทน ราชวงศ์ได้ ส่วนนอกเหนือจาก 3 ตำแหน่งนี้ เรียกว่ากรมการเมือง
หลวงอรัญอาษารับราชการเป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์มาถึง พ.ศ. 2393 มีเหตุจำเป็นจะต้องย้ายไป สร้างเมืองใหม่อีก

พ . ศ. ๒๓๙๓

       พระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) ๖ ได้เป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์ รับราชการปกครองลูกบ้านไพร่เมือง ให้อยู่เย็นเป็นสุข
มาจนถึง พ. ศ. ๒๓๙๓ ปีนี้เกิดฝนแล้ง และเป็นการแล้งอย่างหนัก เล่ากันว่า “ จนต้นไผ่เป็นหมกขี้” มีเหตุจำต้อง
ย้ายไป สร้างเมืองใหม่อีก คือ

      ๑. เกิดอหิวาตกโรคประชาชนพลเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก
      ๒. เกิดความแห้งแล้ง ขาดน้ำดื่ม น้ำใช้
      ๓. ประชาชนพลเมืองมากขึ้น บริเวณที่ตั้งเมืองคับแคบจะขยายอีกไม่ได้
      ๔. การติดต่อราชการของราษฎรยากลำบาก อันเนื่องมาจากบริเวณรอบๆ เมืองเกิดน้ำท่วมขังในฤดูฝน

                นายพา ไพราชสูง หลานพระอรัญอาสา กล่าวกับผู้เขียนว่า สาเหตุที่เมืองเก่าร้าง มีหลายประการ คือ

       ๑. ความแตกแยกและความเจ็บไข้ได้ป่วย และมีผู้คนล้มตายโดยไม่ทราบสาเหตุมากมาย
       ๒. ความอดอยากยากแค้น และความแห้งแล้งขณะนั้น
          แต่ สาเหตุหลักเชื่อกันว่า มาจากความขัดแย้งแตกแยกใส่ร้ายป้ายสีกัน จนเป็นเหตุให้เกิดเรื่องราวขึ้น คนเฒ่าคนแก่
เล่าตรงกันว่า บ้านเมืองสับสนวุ่นวายมาก มีคนตายทุกวันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หลายคนเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการเล่นของเล่น
คาถาอาคมและละเมิดกฎข้อห้าม ผู้ละเมิดกฎข้อห้ามจะกลายเป็นผีปอป ผีโพง กินลูกหลานบ้านเมือง เมื่อเกิดความวุ่นวายไร้
สงบสุข ผู้คนจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในที่อื่น กลุ่มที่อยู่ที่เดิมหรือย้ายทีหลัง เป็นกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอป ส่วนกลุ่มที่
ออกไปก่อน เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ถ้าอยู่รวมกับ ปอป ก็จะมีแต่เภทภัย จึงแยกย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่แห่งใหม่

       พระอรัญอาสา ( เพี้ยเมืองสูง) มีบุตร ๒ คน คนหัวปีเป็นผู้ชายชื่อ ท้าวกิ่ง คนที่ ๒ เป็นผู้หญิง  พระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง)
พาอุปฮาด ราชวงษ์ ราชบุตร กรรมการเมืองและสมัครพรรคพวกย้ายจากเมืองเดิมไปตั้งเมืองใหม่เมืองกุสุมาลย์มณฑลใหม่
ทางทิศตะวันออก ห่างราว ๓ กิโลเมตร โดยข้ามลำห้วยขมานลำห้วยโพธิ์ และลำห้วยกะเพอ ไปตั้งในดงไม้ซึ่งมีไม้ พยูง
ไม้ตะเคียน ไม้กระบาก ไม้เต็ง ไม้รังและไม้อื่นๆ ( ตอนนั้นเขียนตามคำบอกเล่าของราชวงษ์กระต่าย) ท่านหลวงอรัญอาษา
อุปฮาดราชวงศ์ ราชบุตร กรมการเมือง ประชาชนราษฎร ได้พากันสร้างเมืองใหม่ขึ้น ด้วยความควบคุมบังคับบัญชาของ
ท่านหลวงอรัญอาษาจนบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ไม่แพ้บ้านเมืองเดิม เมื่อบ้านเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนพลเมืองหนาแน่นขึ้นแล้ว
บรรดาประชาชนที่มีความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาก็พากันสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นที่บำเพ็ญบุญกุศล เพื่อพัฒนาทางด้านจิตใจ
มีผู้ศรัทธาสร้างวัดขึ้น 4 แห่ง เช่น วัดกลาง วัดโพธาราม วัดป่า( ร้างแล้ว) วัดเหนือ ( ร้างแล้ว บริเวณที่ตั้งจุดสาธิตศูนย์ปฏิบัติ
การ เรียนรู้ สถานีวิทยุชุมชนคนไทโส้ FM.99.75 MHz. ในปัจจุบัน)

      วัดป่า วัดเหนืออยู่ทางทิศเหนือของเมือง วัดป่าอยู่ทางทิศใต้ ปัจจุบันวัดเหนือและวัดป่าได้ร้างไปแล้ว มีบางครอบครัวที่ไม่
ได้ย้ายจากเมืองเดิมก็คงอยู่ต่อไป ผู้คนจึงเรียก ชื่อบ้านนี้ว่าเมืองเก่า (ปัจจุบัน เรียกว่า บ้านเมืองเก่า) ชื่อเมืองที่ตั้งใหม่ก็ตั้ง
ตามชื่อเมืองเดิม คือ เมืองกุสุมาลย์มณฑล หลวงอรัญอาษาเป็นเจ้าเมือง

      พระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) ครองเมืองกุสุมาลย์มณฑล ตั้งแต่ พ. ศ. ๒๓๘๗ จนถึง พ. ศ. ๒๔๑๙ ก็ถึงแก่กรรม
รวมระยะเวลาเป็นเจ้าเมือง ๓๒ ปี


รัชกาลที่ ๕ พ . ศ. ๒๔๐๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองโพธิไพศาลและตั้งให้นายสุริยะเป็นพระไพศาล
เสนานุุรักษ์ เป็นเจ้าเมืองโพธิไพศาล พ. ศ. ๒๔๑๕

      ไทยข่า กระโซ่เมืองกุสุมาลย์ เกิดวิวาทขัดแย้งชิงตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยท้าย ขัตติย ไทยข่ากระโซ่ เป็นหัวหน้าร้องขอ
เป็นเมืองขึ้นเมืองสกลนคร ขอแยกออกจากเมืองกุสุมาลย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งท้าวขัตติยเป็นพระไพศาล สิมานุรักษ์เจ้าเมือง

 

การปราบพวกฮ่อ พ . ศ. ๒๔๑๗

       พวกฮ่อนั้นคือจีนแท้นั้นเอง แต่ชาวไทยทางเหนือเรียกว่า “ ฮ่อ” จีนพวกนี้ได้ตั้งเป็นคณะขึ้น เรียกว่า “ คณะไตเผ็ง”
ก่อการกบฎและทำลายราชวงศ์แมนจู แต่กองทัพหลวงของจีนได้ทำการปราบปราม พวกไต้เผ็งสู้ไม่ได้ก็หนีลงมาทางทิศ
ใต้มาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคานในแถบเมืองพวนเมื่อพ. ศ. ๒๔๑๗

       เนื่องจากมีพวกจีนฮ่อได้ยกมาตีเมืองเวียงจันทร์ และเมืองหนองคาย จึงให้พระยามหาอำมาตย์ ข้าหลวงใหญ่ซึ่งมาจัดราชการ
อยู่ ณ เมืองอุบลราชธานี เป็นแม่ทัพเกณฑ์กองทัพเมืองต่างๆ คือ เมืองร้อยเอ็ด ๕, ๐๐๐ คน, เมืองสุวรรณภูมิ ๕, ๐๐๐ คน,
เมืองกาฬสินธุ์ ๔, ๐๐๐คน , เมืองอุบลราชธานี ๑๐, ๐๐๐ คน, เมืองยโสธร ๕, ๐๐๐ คน เมืองมุกดาหาร ๔, ๐๐๐ คน,
เมืองนครพนม ๔, ๐๐๐ คน, ฯลฯ ไว้สมทบกองทัพใหญ่ ซึ่งสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ สมุหนายกจะยกขึ้นมาจาก
กรุงเทพฯ และให้เมืองนครพนมเตรียมปลูกฉางข้าวและเตรียมซื้อข้าวขึ้นฉางไวสำหรับเลี้ยงกองทัพ อนึ่งยังให้เมืองต่างๆ
เตรียมไม้ถากไว้เพื่อขุดเรือไว้ให้กว้างลำละ ๔ วา ๕ ศอก คืบ คือเมืองนครพนม ๕๐ ลำ, เมืองหนองคาย ๕๐ ลำ, เมือง
โพนพิสัย ๓๐ ลำ, เมืองไชยบุรี ๒๐ ลำ, เมืองท่าอุเทน ๑๕ ลำ, เมืองมุกดาหาร ๕๐ ลำ, รวม ๒๔๕ ลำ

      พระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) ก็ถึงแก่กรรม ท้าวกิ่งผู้เป็นบุตรชายซึ่งได้ไปเรียนวิชาการปกครองที่กรุงเทพฯ
ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑล คนต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น พระอรัญอาษา( ท้าวกิ่ง)
ปกครองเมือง กุสุมาลย์มณฑลสืบต่อพระอรัญอาสา( เพี้ยเมืองสูง) ผู้เป็นบิดา พ. ศ. ๒๔๒๗ ( สกล น.23)

      เกิดจราจลขึ้นที่เมืองเชียงขวาง ทุ่งเชียงคำ เกิดจากจีนฮ่อ เข้าปล้นราษฎรเข้ามาในเขตเชียงขวาง เมืองสกลนคร
ถูกเกณฑ์กำลัง ๑, ๐๐๐ คน ช้าง ๒๕ เชือก ข้าวสาร ๓, ๐๐๐ ถัง โคต่าง ๑๐๐ ตัว ส่งทางบก ทางเรือบ้าง ในการทัพครั้งนี้
โปรดให้พระอุปฮาด ( โง่นคำ) ราชวงษ์( ฟอง) เป็นนายทัพ

     พระอรัญอาษา( ท้าวกิ่ง) ได้พาทหารชาวไทโส้ไปร่วมรบที่ทุ่งเชียงคำ( เชียงคาน) ร่วมกับกองทัพทางกรุงเทพฯ
ซึ่งพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นแม่ทัพ ( ได้รับเหรียญออกรบครั้งนี้กลับมาด้วย)

    ได้รับใบบอกเมืองสกลนครว่าพระยาจันตประเทศธานี( ปิด) เจ้าเมืองป่วยถึงแก่กรรม (อยู่ในระหว่างศึกกับจีนฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ)
แม่ทัพจึงโปรดให้พระอุปฮาด ( โง่นคำ) กลับไปรักษาราชการเมือง ให้ราชวงษ์( ฟอง) คุมกองทัพไปทุ่งเชียงคำ สู้รบกับจีนฮ่อถึง
ปราชัย โดยเหตุที่แม่ทัพถูกอาวุธปืน ข้าศึกบาดเจ็บมาก แม่ทัพเลิกทัพกลับ มาตั้งพักอยู่ที่เมืองหนองคาย

 การปราบฮ่อครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓
( ครั้งที่ ๑ พ. ศ. ๒๔๑๘, ครั้งที่ ๒ พ. ศ. ๒๔๒๑ , ครังที่ ๓ พ . ศ. ๒๓๒๘, ครั้งที่ ๔ พ. ศ. ๒๔๓๐)

       โปรดให้กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เมื่อยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น ยกไปทางหนองคายทัพหนึ่ง เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
( เจิม แสงชูโต) เมื่อยังเป็นจมื่นไวยวรนาถยกไปหลวงพระบางอีกทัพหนึ่ง เพื่อปราบฮ่อใหมในคราวนี้ พวกฮ่อกลัวปืนใหญ
่่หนีไปเสียก่อน จึงทำลายค่ายเสีย แล้วยกทัพกลับมาในการปราบฮ่อครั้งที่ ๓ พ. ศ. ๒๓๒๘ กั้นบัง  รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง ฝรั่งเศษ
ได้ขอทำสัญญากับไทย เพื่อตั้งสถานที่กงศุลที่นครหลวงพระบางและฝรั่งเศษได้ตั้ง ม. ปาวีร์ เป็นกงศุล ต่อมาอีกปีหนึ่ง
พ. ศ. ๒๔๓๐ พวกฮ่อได้เข้าปล้นอีกครั้งหนึ่ง และไทยได้ปราบฮ่อจนราบคาบดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ในการที่พวกฮ่อปล้น
ครั้งนี้ ม. ปาวีร์ กงศุลฝรั่งเศษตกอยู่ในอันตราย รอดชีวิตได้เพราะไทยช่วยไว้และอพยพจากหลวงพระบางโดยการอุปถัมภ์
ของไทย การที่ไทยปราบพวกฮ่อสองครั้งนั้น ฝรั่งเศษมิได้ไหวตัวช่วยเหลือในงานนี้ด้วยแม้แต่เล็กน้อยแต่ครั้งเมื่อไทยได้เสีย
เลือด เนื้อ จนปราบฮ่อได้ราบคาบแล้ว ฝรั่งเศษจึงได้เข้ามายึดเอาแคว้นสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหกไว้โดยอ้างว่าเพื่อ
คอยปราบ จีนฮ่อ และไทยจะเจรจาอย่างไร ฝรั่งเศษก็ไม่ยอมถอยกองทัพไป แคว้นสิบสองจุไทยของเราจึงกลายเป็นของ
ฝรั่งเศษไป ตั้งแต่ พ. ศ. ๒๔๓๑ การเสียดินแดนครั้งนี้ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๘๗, ๐๐๐

         โปรดเกล้าให้เมืองวาริชภูมิ เมืองขึ้นเมืองหนองหาร มาขึ้นกับเมืองสกลนครเปลี่ยนแปลงให้เมืองกุสุมาลย์และเมืองโพธิไพศาล
ไปขึ้นกับเมืองนครพนม

พ.ศ. ๒๔๔๗

        มีการ เปลี่ยนแปลงอุปฮาดชื่อท้าวแฮดราชวงศ์ชื่อกระต่าย ราชบุตรไม่ทราบชื่อ ( ราชบุตรท่านนี้ผู้เล่าเรียกท่านว่า ปู่ )
ต่อมาการปกครองบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบเทศาภิบาลมณฑล จังหวัด อำเภอ ในปีมะโรง ฉศก จุลศักราช ๑๒๖๖
พุทธศักราช ๒๔๔๗ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๓ แต่ยังคงเรียกตำแหน่ง นายอำเภอว่าเป็นเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร
คงมีอยู่ตามเดิม ในระยะแรกของการปกครองในระบบใหม่นี้ พระอรัญอาษาเจ้าเมือง กุสุมาลย์มณฑลคงลดฐานะของตน
จากเจ้าเมืองเป็นนายอำเภอตามระเบียบใหม่ ทำหน้าที่ราชการแทน นายอำเภอไปพลางๆก่อน จนกว่าทางราชการ
จะส่งตัวนายอำเภอมารับงานในหน้าที่ต่อไป ต่อมาทางการได้ส่งตัวนายอำเภอ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอกุสุมาลย์แล้ว
พระอรัญอาษาก็เป็นที่ปรึกษา ด้วยเหตุที่มีการเปลี่ยนเปลงการปกครอง ตามระเบียบใหม่ดังกล่าวแล้ว เมืองกุสุมาลย์
มณฑลก็มีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกันกับจังหวัดสกลนครตามเดิม ( สมัยเป็นเมืองกุสุมาลย์มณฑลก็เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับ
เมืองสกลนคร) มีนายอำเภอรับราชการเป็น นายอำเภอกุสุมาลย์ต่อจากพระอรัญอาษา ๔ นาย คือ ๑. ขุนพนม ๒.
นายสวน ๓. พระพิพิธ ๔. พระราชกิจภักดี นายอำเภอกุสุมาลย์ ทั้ง ๔ ท่านนี้ ผู้ใดดำรงตำแหน่งนานกี่ปีค้นหลักฐานไม่พบ
ต่อมา อำเภอกุสุมาลย์ มีฐานะเป็นอำเภออยู่ประมาณ ๑๐ ปี

      พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการ ถึงบริเวณสกลนคร
ประทับอยู่ ๒ วัน แล้วเสด็จไปนมัสการพระธาตุพนมบรมเจดีย์

      วันที่ ๑๓ มกราคม เวลาย่ำรุ่ง ออกจากกุรุคุทางขึ้นเนินป่าไม้เต็งไปตามทางสายโทรศัพท์ ถึงห้วยหินสะแนนเวลา
๒ โมงเช้า ๑๕ นาที ระยะทาง ๔๑๐ เส้น มีราษฎรมาคอยรับ ผู้ใหญ่บ้านผู้หนึ่งดักได้นกอินทรีคู่หนึ่งมาให้ ในหมู่
ราษฎรมีคนไทยโย้ยคนหนึ่งแต่งตัวอย่างคนพื้นเมือง ว่ามาจากเมืองอากาศอำนวย กับมีพวกกะโซ้ซึ่งจะได้พบต่อ
ไปมาด้วย เวลาเช้า ๓ โมง ๔๐ นาที ออกจากห้วยหินสะแนนขึ้นโคกไม้เต็งรังต่อไป เข้าเขตเมืองโพธิไพศาลซึ่งเป็น
เมืองเล็กๆ อย่างตำบลกำนันแห่งหนึ่ง แต่ทางที่มานี้ไม่ได้ผ่านบ้านผู้คน แล้วข้ามห้วยทวยเขตเมืองโพธิไพศาล
กับเมืองกุสุมาลย์มณฑลต่อกัน

     เวลาเช้า ๔ โมง ๔๐ นาทีถึงที่พักแรม ณ เมืองกุสุมาลย์มณฑล ระยะทาง ๒๖๐ เส้น รวมระยะทางวันนี้ ๖๗๐ เส้น
พระอรัญอาสา ผู้ว่าราชการเมืองกุสุมาลย์ กับกรมการกำนัน ผู้ใหญ่ บ้านและราษฎรชายหญิงพากันมารับเป็นอันมาก
ชาวเมืองนี้เป็นข่า ที่เรียกว่ากะโซ้ เดิมมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว ผู้หญิงไว้ผมสูงแต่งตัวนุ่งซิ่นสวมเสื้อกระบอก ย้อม
คราม ห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่งตัวอย่างคนชาวเมือง แต่เดิมว่านุ่งผ้าขัดเตี่ยวไว้ชายข้างหน้าชายหนึ่ง ข้างหลังชายหนึ่ง
มีภาษาพูดที่คล้ายสำเนียงมอญ แล้วพวกผู้ชายมการเล่น เรียกว่าสะลาคือมีหม้ออุตั้งกลาง แล้วคนต้นบทคนหนึ่ง
คนสะพายหน้าไม้และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องซึ่งเรียกว่าพะเนาะคนหนึ่ง คนถือไม้ไผ่ท่อนสามปล้องสำหรับ
กระทุ้งดินเป็นจังหวะสองคน คนถือชามสองมือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่ง คนถือก้นตะแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง
แล้วคนถือมีดถือสิ่วหักสำหรับเคาะจังหวะคนหนึ่ง รวม ๘ คน เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมาพอได้พักหนึ่งก็ดื่มอุแล้วร้องรำ
ต่อไป ดูสนุกกันเองไม่ใคร่อยากเลิก เวลาเลิกแล้วก็ยังฟ้อนกันเรื่อยตลอดทางไป พวกข่ากะโซ้นี้กินอาหารไม่ใคร่เลือก
มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อกรมหลวงประจักษ์ฯ เป็นข้าหลวง พระอรัญอาสา ผู้ว่าราชการเมืองกุสุมาลย์คนนี้ไปเฝ้าฯ รับสั่ง
ไต่ถามถึงขนบธรรมเนียมของพวกข่ากะโซ้ ไล่เลียงกันไปจนถึงอาหารที่ชอบบริโภค พระอรัญอาสาทูลว่า “ ชอบเจียะจอ”
( คือชอบบริโภคเนื้อสุนัข) ไม่ทรงเชื่อ พระอรัญอาสารับจะบริโภคถวายทอดพระเนตร จึงให้ไปหาเนื้อ “ จอ” มาเลี้ยง
นัยว่า เมื่อพระอรัญอาสาบริโภคเนื้อจอนั้น พวกข้างในตำหนักดูอยู่ไม่ได้ ถึงต้องวิ่งหนี เล่ากันดังนี้

     เวลาบ่าย ๔ โมงไปที่วัดกลาง มีพระ ๔ รูป เณร ๓ รูป วัดในมณฑลนี้มักมีพระอยู่กรรม เรียกว่า “ พลวง” เป็นประทุนเล็กๆ
พื้นฟากเฉพาะนอนคนเดียวเหมือนอย่าประทุนเกวียน มีวัดละหลายๆหลัง มักทำรายไปรอบโบสถ์ เวลาเข้าพรรษาพระภิกษ
ุไปอยู่กรรม เจขามักว่ามีคนศรัทธาไปปฏิบัติถือกันว่าได้บุญมาก แล้วไปดูหมู่บ้านราษฎรจนถึงทุ่งนาริมห้วยเสอเพลอ
เมืองกุสุมาลย์มณฑลนี้เดิมเรียกว่าบ้านกุดมาร ยกขึ้นเป็นเมืองขึ้นของเมืองสกลนคร เห็นจะเป็นเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ราษฎร
ชาวเมืองมีจำนวน ๒๑๗๑ คน เลี้ยงโคกระบือและสุกรเป็ดไก่ถึงได้ขายแก่คนเดินทางบ้าง กับทำนาและข้าวไร่พอเลี้ยงกันเอง

พ . ศ. ๒๔๕๗ ( ๑๙๑๔)

       รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ใหม่ ตำบลกุสุมาลย์ ตำบลกุสุมาลย์ซึ่งขึ้นกับอำเภอเมือง
นครพนม ก็เปลี่ยนมาขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนคร

พ.ศ. ๒๕๐๕ (๑๙๖๒)

       อำเภอเมืองสกลนคร มีอาณาเขตกว้างขวาง ไม่สะดวกต่อการคมนาคม ทางราชการจึงได้แยกการปกครองอำเภอเมือง
สกลนคร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกุสุมาลย์ขึ้นโดยกำหนดที่ตั้งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอขึ้น
ที่บ้านกุสุมาลย์ ตำบลกุสุมาลย์


พ.ศ. ๒๕๑๐ (๑๙๖๗)

       มีพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอกุสุมาลย์ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๘๔ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๐

พ.ศ. ๒๕๑๖

      ประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นสุขาภิบาลกุสุมาลย์ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยมีนายเสงี่ยม ภูเขาทอง
นายอำเภอกุสุมาลย์คนที่ ๓ เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลกุสุมาลย์คนแรก


พ.ศ. ๒๕๔๒ (๑๙๙๙)

      ประกาศในกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๐ ตอนที่ ๙ ก. วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
ยกฐานะตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลกุสุมาลย์ เป็นเทศบาลตำบลกุสุมาลย์

       นายอำเภอกุสุมาลย์ต่อจากพระอรัญอาษา ๔ นาย คือ ๑. ขุนพนม ๒. นายสวน ๓. พระพิพิธ ๔. พระราชกิจภักดี
นายอำเภอกุสุมาลย์ ทั้ง ๔ ท่านนี้ ผู้ใดดำรงตำแหน่งนานกี่ปีค้นหลักฐานไม่พบ


ที่ตั้งและอาณาเขต

       อำเภอกุสุมาลย์ มีพื้นที่ ๔๕๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๘๓,๗๕๐ ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ
จังหวัดสกลนคร มีอาณาเขต ดังนี้

        
        ทิศเหนือ          มีอาณาเขตติดต่อกับ อำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
        ทิศใต้             มีอาณาเขตติดต่อกับ อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
        ทิศตะวันออก   มีอาณาเขตติดต่อกับ อำเภอเมือง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
        ทิศตะวันตก     ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

อาณาเขตและการปกครอง

อำเภอกุสุมาลย์มีอาเขตการปกครอง ๕ ตำบล ดังนี้
      ตำบลกุสุมาลย์ มีพื้นที่ ๘๕ ตารางกิโลเมตร
      ตำบลอุ่มจาน มีพื้นที่ ๙๔ ตารางกิโลเมตร
      ตำบลนาเพียง มีพื้นที่ ๙๔ ตารางกิโลเมตร
      ตำบลนาโพธิ์ มีพื้นที่ ๙๑ ตารางกิโลเมตร
      ตำบลโพธิไพศาล มีพื้นที่ ๘๔ ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

โดยทั่วไป เป็นที่ราบทำการเพาะปลูก มีโคกป่าโปร่ง ป่าไม้เบญจพรรณ มีลำห้วยเล็กๆ อยู่ทั่วไป พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลูกรัง
พื้นที่สูงทางตอนใต้ แล้วลาดต่ำไปทางทิศเหนือ

 

                                        ความเป็นมา งานเทศกาลโส้รำลึก

 

หลังจากชาวกะโส้ หรือไทโส้ อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองกุสุมาลย์เป็นส่วนใหญ่ โดย
เพี้ยเมืองสูง เป็นหลวงอรัญอาสา ต่อมาเป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์ ซึ่งเมื่อถึงแก่กรรม ท้าวกิ่งบุตรชายก็ได้รับการแต่งตั้ง
ให้ เป็นพระอรัญอาสาครองเมืองกุสุมาลย์สืบแทนต่อไป

ชาวกะโส้กุสุมาลย์ มีความเคารพนับถือพระอรัญอาสามาก เพราะพระอรัญอาสา เป็นผู้มีความสามารถทางไสยศาสตร์แ
ละคาถาอาคม ซึ่งมีเรื่องเล่าขานถึงอภินิหารของท่านมากมาย จึงทำให้ชาวกะโส้มีความเชื่อถือผู้นำเพียงคนเดียว และ
ผู้นำส่วนมากเป็นผู้นำทางจุ้มผี และมีความเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์ มีความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของผีบรรพบุรุษ
์และสู่ขวัญเจ้าขวัญเรือน ซึ่งชาวกะโส้ได้ยึดถือ วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันดีศรีมงคล จึงทำพิธีสู่ขวัญเจ้าขวัญเรือน
และดำเนินการตามพิธีกรรมทางความเชื่อดังกล่าวข้างต้น

 

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ นายสุวัฒน์ แสงสุทธิเศรษฐ์ นายอำเภอกุสุมาลย์ ได้ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ในอำเภอกุสุมาลย์ว่าน่าจะมีการจัดงานเพื่อแสดงศิลปวัฒนธรรมของไทโส้ เพื่อเป็นเอกลักษณ์และอนุรักษ์ไว้ซึ่ง
ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทโส้ให้เป็นประจำทุกปี และให้เรียกงานประจำปีนี้ว่า “ งานเทศกาลโส้รำลึก อำเภอ
กุสุมาลย์” โดยจัดขึ้นเป็นปีแรก เมื่อ วันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ และตั้งแต่นั้น
เป็นต้นมา จึงจัดให้มีการจัดงานเทศกาลโส้รำลึก ในวันขึ้นวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆ ปี
และนับจากปีที่ผู้เขียนทำการรวบรวมนี้ ( พ.ศ. ๒๕๕๑) การจัดงานเทศกาลโส้รำลึกครั้งต่อๆ ไป
จึงกำหนดได้ดังนี้

         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๒๗ วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๒๘ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๒๙ วันอังคารที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๓๐ วันจันทร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๓๑ วันศุกร์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๓๒ วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๓๓ วันจันทร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๓๔ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๓๕ วันศุกร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
         งานเทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๓๖ วันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐



 วัตถุประสงค์และรูปแบบของการจัดงานเทศกาลโส้รำลึก นั้น มีผู้เรียบเรียงไว้เพื่อเป็นแบบการจัดงานครั้งต่อๆ ไป ดังนี้

           - เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
           - เพื่อเป็นการเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทโส้ให้เป็นที่รู้จัก
           - เพื่อหารายได้ส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์
           - เพื่อนำราย ด้ส่วนหนึ่งช่วยเหลือผู้ประสพภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย

 

 

 

 



ทั้งนี้ได้แบ่งรูปแบบของการจัดงานออกเป็น ๒ ภาค ดังนี้

ภาคกลางวัน - ประธานในพิธีเปิดงานแล้วสักการะอนุสาวรีย์พระอรัญอาสา (ปัจจุบันประธานในพิธีสัการะ
อนุสาวรีย์พระอรัญอาสา ก่อนการเปิดงาน)


        - การจัดแสดงประเพณีรำลึกถึงบรรพบุรุษของเผ่าไทโส้และประเพณีดั้งเดิมสำคัญ อื่นๆ เช่น การเยา เป็นต้น
          (ติดตามรายละเอียดของพิธีกรรมต่างๆ ได้จากต้นฉบับของผู้เขียน)


        - การแสดงศิลปพื้นเมืองของชาวไทโส้ เช่น การรำโส้ทั่งบั้งและการเล่นลายกลอง


        - การจักนิทรรศการของหน่วยราชการต่างๆ

ภาคกลางคืน       - การประกวดธิดาโส้
                       - การแสดงมหรสพสมโภชงาน เช่น มวย ภาพยนตร์


        นอกจากนี้ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่สำคัญของของชาวไทโส้อำเภอกุสุมาลย์ที่สำคัญ เช่น

          
การรำโส้ทั่งบั้ง
          

 

 

      การเล่นสะโลอ๊อหรือสะลา


  


          - การเยา ผีน้ำ ผีฟ้า ผีมูล          - การซางกะมูด          - การเจียสะลา




คำขวัญอำเภอกุสุมาลย์

"ดินแดนดอกกระเจียว เขียวงามผักหวาน ยอดอาหารไข่มดแดง แมงแคงจั๊ักจั่น
ลือลั่นวัฒนธรรมไทโส้ "

 

อ้างอิงที่สำคัญ :
( พระโพธิวงศาจารย์ ; ๓๕๗ - ๓๖๐)
เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๒๒ ; สามารถ หาดสูง , ๒๕๔๖, น. ๓- ๕
๑ปรีชา พงศ์ภมร , ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๔๓๒– ๔๓๔
๒สุรจิตต์ จันทรสาขา , จังหวัดนครพนมในอดีต ; เอกสารหน้า ๔, ๙
( นายพลตรีพระยาฤทธิรงค์รณเฉท ( ศุข ชูโต) 2507 : 103-114)
๑ปรีชา พงศ์ภมร , ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๔๓๒– ๔๓๔
๔ปูมเมืองสกลนคร ฉลอง ๑๕๐ปี หน้า ๑๗
๓ , ๔จิตร ภูมิศักดิ์, ความเป็นมาของคำสยามฯ น. ๓๓๙, ๓๔๐
( น. ๓๔๐ อ้าง Burchett, Mekong Upstream, Berlin , ๑๙๕๙, p. ๒๐๗)
๒สุรจิตต์ จันทรสาขา , เมืองเรณูนครในอดีต ; เอกสารหน้า ๒๖
โดยหลักฐานอ้างอิงจากพงศาวดารเมืองนครพนม ฉบับ พระยาจันตประเทศธานี
( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนครปี พ. ศ. ๒๔๕๗) ฯลฯ ดูอ้างอิง
( จากเอกสาร ร. ๓ จ. ศ. ๑๒๐๐ เลขที่ ๑๐ หอสมุดแห่งชาติ)
   ( จากเอกสาร ร. ๕ มท. เล่ม ๓ และเอกสาร ม. ๒ ๑๒ ก. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ปรีชา พงศ์ภมร , ๔๕ กษัตริย์ไทย ; หน้า ๔๕๒ พ. ศ. ๒๔๑๘( นครพนม น.15)
( จากเอกสาร ร. ๕ มท. เล่ม ๑๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) พ. ศ. ๒๔๑๙ ( ประวัติโส้ ศิริมงคล)
พ . ศ. ๒๔๔๙ ( สกล น. ๒๖)
พ . ศ. ๒๔๕๐ ( เที่ยวที่ต่างๆ ๔ ภาคที่ ๔ น. ๓๘ )
เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๑๑ ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร คปสอ.กุสุมาลย์ รพ.กุสุมาลยกุม :กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔
ประเพณีไทโส้ เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ ๒๔ กองการศึกษาเทศบาลตำบลกุสุมาลย์ : ๒๕๔๘


ขอขอบคุณพิเศษ
พระครูสุวรรณศีลวงศ์
ถิรธมโมภิกขุ ( ๒๕๔๓
คุณลุงสามารถ หาดสูง
คุณลุงเสถียร เมืองซอง
อาจารย์แมน มะแก้ว


หมายเหตุ : ติดตามอ่านเพิ่มเติมและบทอ้างอิงเพิ่มเติมจากต้นฉบับ
สอบถามที่Webmaster@naphoradio.com


 
 

 
 

ซิสเตอร์
สังวาลย์ เนืองทอง


ซิสเตอร์
นวลมณี ถิ่นวัลย์




ซิสเตอร์
ส่องแสง ถิ่นวัลย์


ซิสเตอร
โลซาแห่งลีมา
รัตนากร มะหัตกุล




เซอร์
วรรณา เนืองทอง




  ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 12
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2557


สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์
วิทยุและโทรทัศน์ จังหวัดสกลนคร

ร่วมงานแถลงข่าว
Robinson Futsal Cup 2014
ณ โรบินสัน สาขาสกลนคร
เมื่อวันอังคารที่10 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 11
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2557

ประมวลภาพ คสช
คืนความสุขสู่ประชาชน

ณ ศาลาประชาคม วัดคาทอลิกนาโพธิ์
มีผู้ร่วมงาน ราว 300 คน
เมื่อวันพุธที่ 4 มิถุนายน 2557


สรุปผลการปฎิบัติงานสหกรณ์
เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
ระดับกลุ่ม รายการรับวันนี้
จำนวน 36,199 บาท
อนุมัติเงินกู้ 115,500 บาท


อาทิตย์ต้นเดือนที่ 1 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 3
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 10
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี ตำบลนาโพธิ์

หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2557


รวมประกาศ
คณะรักษาความสงบแห่งชาต
(สื่อ-สหกรณ์)
National peace and Order Maintaining Council 24/05/2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 32 /2557


ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 9
ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2557


พล.ต.ธนกร จงอุส่าห์
ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสกลนคร
ประธาน กอ.รส. จังหวัดนัดหมายพบสื่อมวลชน

ณ สโมสรทหารจังหวัดสกลนคร
เมื่อ 21 พฤษภาคม 2557
โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ160คน






ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 6
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์


หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557


ประกาศสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
นาโพธิ์ 125 จำกัด
แจ้งผลการดำเนินงานระดับกลุ่ม

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2557
(วันอาทิตย์ต้นเดือน)


ตลาดเช้า และตลาดเย็น
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2557
เวทีและบรรยากาศตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง
ที่นาโพธิ์ เมื่อ 1 พฤษภาคม 2557

ขอขอบคุณ ศิลปิน ครูเพลงและพิธีกร
แดน ดวงตะวัน, หรั่ง มงคล อาจารย์โย
บ่าวยะ ชมรมคนรักศิล พระอาจารย์ประถม



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::


สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557
ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ
ณ โรงแรม ทาวน์ อิน ทาวน์ กทม.


เมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2557/2014


ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
แถลงข่าวประชาสัมพันธ์
การระดมทุนเพื่อบูรณะฯ
ยอดฉัตรองค์พระธาตุเชิงชุม

องค์พระธาตุเชิงชุม เมื่อ 24 ม.ย.2557


แนะนำปุ๋ยอินทรีย
์ตราสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
กระสอบละ 400 บาท

สอบถามและสั่งซื้อได้ที่
089 863 3349


ประมวลภาพ
พิธีล้างเท้าอัครสาวกพิธีเฝ้าศิล
ที่วัดนาโพธิ์ 2014


เมื่อวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์
17 เมษายน 2557



ตลาดพอเพียงโพธิืทอง
ทุกเย็นวัน พฤหัสบดี
ตลาดเช้าทุกวันที่ 1 ของเดือน



ชมประมวลภาพ พิธีรดน้ำขอพร ผู้สูงอายุ วันสงกรานต์
ณ ศาลาวัดคาทอลิกนาโพธิ์


อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
เมื่อวันอาทิตย์ีที่ 13 เมษายน 255
7

ชมประมวลภาพ พิธีแห่ใบลาน
วัดคาทอลิกนาโพธิ์ ตำบลนาโพธิ์
อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2557


สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
นายประสงค์ เนืองทอง ประธานกรรมการ
และคณะกรรมการบริหาร

ออกหน่วยสร้างความรู้ความเข้าใจ
กระบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
และรับสมัครสมาชิกใหม่ณ
ที่ทำการผู้ใหญ่บริสุทธิ์ ผาละพัง
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่3 บ้านบอน

วันอังคารที่ 8 เมษายน 2557
มอบสวัสดิการ สก.2 แก่สมาชิก
ชมสรุปผลและภาพกิจกรรม

วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2557
วันอาทิตย์ต้นเดือน


ประมวลภาพพิธีเปิดโครงการ
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่เออีซี ตำบลนาโพธิ์

คุณพ่อชำนาญ บัวขันธ์
ประธานพิธีและที่ปรึกษา
เป็นประธานกรรมการ
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557

ประกาศสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ ฯ
แจ้งผลการดำเนินงานระดับกลุ่ม
เมื่อสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2557

และวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2557 วันอาทิตย์ต้นเดือ



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::



เปิดสอนการใช้โปรแกรมและการสร้างเว็บเพจ
การเชื่อมต่อและส่งข้อมูล ภาพ เสียง วีดีโอ ขึ้นเว็บตัวเอง
การทำ วิทยุ ออนไลน์ และ วิดีโอออนไลน์

และแนะนำการใช้งานโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
7-11 เมษายน 2557
ระหว่างเวลา 13.30 - 15.30 น.
รับประกัน ใช้งานได้ 100 %

 

ชมประมวลภาพงาน
"สายสัมพันธ์วันนักข่าว"

สมาคมนักข่าวฯ สกลนคร
เมื่อ 5 มีนาคม 2557



ต้องการขายบ้าน 1,500,000.-
ที่ศรีสงคราม จ.นครพนม

รายละเอียด

ร่วมประชุมสมาคมนักข่าวฯ
จังหวัดสกลนคร จัดงานวันนักข่าว
5 มีนาคม 2557

ณศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง

อ.เมือง จ.สกลนคร
บัตรราคา โต๊ะละ ๒,๔๐๐ บาท
สอบถามที่ ๐๘๑-๐๕๑๘๑๑๕



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::




นายประสงค์ เนืองทอง ประธานกรรมการ และคณก.ฯ

ร่วมแสดงความอาลัย
นายสมคิด หงษ์ศรีเมือง
สมาชิกเครดิตฯเสียชีวิต
เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2557


ประมวลภาพฉลองวัดคาทอลิกนาโพธิ์
14 กุมภาพันธ์ 2014


ชมหน้า 1


ประมวลภาพฉลองวัดคาทอลิกนาโพธิ์
14 กุมภาพันธ์ 2014

ชมหน้า
2

บัดนี้ คณะกรรมการฯ
ได้ดำเนินการจดทะเบียน
เป็นสหกรณ์แล้ว

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556ในชื่อ
“สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์125 จำกัด”

: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑล
   ท่าแร่-หนองแสง ::


ชมการเล่นสะโลอ๊อหรือสะลา
ฟังประวัติความเป็นมา

ของชาวโส้บ้านโคกม่วง
ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร



วันนี้ วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
ผมเลือกใช้ NanoBridge M5-25
เพื่อติดตั้งระบบ ส่ง Wifi
ระยะไกล 4.4 Km.


ประมวลภาพ พิธีฌาปนกิจศพ
คุณพ่อสมวน สุวรรณคำ

(บิดาคุณรัชนี สุวรรณคำ
ผู้ก่อตั้งนาโพธิ์เรดิโอ)

เมื่อ 25 มกราคม 2557


การประชุมใหญ่ครั้งแรก
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์
๑๒๕ จำกัด


๒๔ มกราคม ๒๕๕๗


พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ โอกาส ทำบุญโรงเรียน ประจำปี 2557

คุณพ่อ ธัญญา ศรีอ่อน
เจ้าอาวาสวัดนาโพธิ์ ประธานพิธ
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557


 




  ลาทีปีเก่า 2556   บ้านของเรา...ครอบครัวของเรา

เมื่อ 31 ธันวาคม 2013

Thailand Christmas Festival 2013
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
ขอเชิญรับชมบรรยา กาศค่ำคืน
วันคริสต์มาส 23 ธันวาคม ค.ศ. 2013


รับชมภาพการแห่ดาว
จากอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่



ชมภาพโครงการ ทำความดีเชิดชูบูชาพ่อ2554

-โครงการ
- คำมงคล ที่ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก
- ผู้แจ้งความประสงค์จัดตั้งโรงทานปี 2554
-
ประมวลภาพกิจกรรมที่ 1 ศาสนพิธี
 
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554
- สรุปและประมวลภาพกิจกรรมที่ 2 โรงทาน

สรุปและประมวลภาพงานเชิดชูบูชาพ่อ
และ 9 ปีนาโพธิ์เรดิโอ
กิจกรรมที่ 2 
วาดภาพ ร้องเพลง โรงทาน
หมอลำย้อนยุค 

เมื่อ 8 ธันวาคม 255
6




ชมการเล่นสะโลอ๊อหรือสะลา
ประวัติและวิธีการเล่น
ของชาวไทโส้บ้านโคกม่วง
ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร

ขาย สินค้าชุมชน
(รายละเอียดชมสินค้าและ
OTOP ชุมชน )
08 3290 1164 ตลอดปี


งานมหกรรมบัว
    อุทยานบัวหนองหาร
    วันแรก 2010-10-20

 
ยือนถิ่นภารตะ สักการะสถาน
   ประสูติตรัสรู้และปรินิพพาน
   ตอน เยี่ยมบ้านนางสุชาดา

  ประวัติความเป็นมาวันคริสต์มาส

  เยือนถิ่นภารตะ สักการะสถาน
    ประสูติตรัสรู้ และปรินิพพาน
    ตอน แม่น้ำเนรัญชรา


สารนาถ ธรรมเมกขสถูป
    สถูปผู้เห็นธรรม
    ศาสนสถานโบราณ


รวมบทความ
และภาพประทับใจ
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
วันแรกที่โรม
ตุลาคม 2007
พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ
เปิดปีการศึกษา 2009-2010
และอำลาพี่น้องคนไทยในโรม
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้
    ของพระพุทธเจ้า
    ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน


 

ฟังเพลงกับ....
หนุ่มน้อย คนภูไท
นาโพธิ์ถิ่นภูไท
ภูไทสัมพันธ์
ภูไทใจช้ำ

เยือนสิงคโปร์

20 กันยายน 2012

รสชาดโจ๊กกบหม้อดิน

ที่ Lavender สิงคโปร์

วันชื่น-คืนสุข

Sheraton Tower Singapore
22 กันยายน 2
012

เที่ยวเกาะมหาสนุก

Sentosa 21 กันยาย 2012   

naphoradio WiFi ติดตั้ง
ชุดเชื่อมโยงเครือข่ายไร้สาย
ระยะไกล10-30 กิโลเมตร

ส่งไปที่ศูนย์ฯวังสวนกล้วย
เมื่อ ศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556


 

เกี่ยวกับวิทยุ


 
 
เพื่อนบ้านของเร

โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม
 โรงเรียนไพศาลวิทยา
โรงเรียนบ้านกุดฮู
โรงเรียนบ้านบอนสหราษฎร์ฯ
โรงเรียนบ้านม่วง
โรงเรียนบ้านอีกุด
โรงเรียนบ้านโคกม่วง
โรงเรียนอนุบาลย์กุสุมาลย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ม.เกษตรศาสตร์ ฉกส.
สนง.ขนส่งจังหวัดสกลนคร
ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร
อบจ.วัดสกลนคร
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร
ท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
สถานีตำรวจภูธร อ.กุสุมาลย์
เทศบาลตำบลกุสุมาลย์
เทศบาลตำบลท่าแร่
เทศบาลตำบลเชียงเครือ

สพท.สกลนคร เขต 1
สพท.สกลนคร เขต 2
สพท. สกลนคร เขต 3
มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดนครพนม
พัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร
โรงพยาบาลกุสุมาลย์
โรงพยาบาลสกลนคร
สำนักงานสาธารณสุขสกลนคร
คลื่นวิทยุระบบ FM.
     และวิทยุชุมชนจังหวัดสกลนคร
    (แยกรายอำเภอและคลื่นความถี่)

คนเขียนเพลง(ทีมงานครูสลา)
108 อาชีพ

ธนาคาร อัตราแลกเปลียน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
 ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพฯ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารไทยพาณิิชย์
 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 บมจ.ธนาคารกรุงไทย
 ธนาคารกสิกรไทย
 ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการส่งออก
      และนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารนครหลวงไทย
นาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
 นครธน จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารเอเชียจำกัด(มหาชน)
 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ
     ขนาดกลางและขนาดย่อมฯ
ซิตี้แบงค์ ไทยแลนด์
ธนาคารกรุงไทย ชาริอะฮ์
ธนาคารธนชาตจำกัด(มหาชน)
ธนาคารยูโอบี รัตนสิน
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
 ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด
      (มหาชน
)




อุตุนิยมวิทยา


กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

1
ดาวน์โหลดโทรฟรีทั่
วโลก
ส่วนราชการ หน่วยงาน
สำนักพระราชวัง
รัฐบาลไทย
สำนักนายกรัฐมนตร
นักเรียนไทยในสหรัฐฯ
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงพัฒนาสังคม
      และความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการท่องเที่ยว-กีฬา
กระทรางเกษตรฯ
กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัยพากรฯ
     และสิ่งแวดล้อ
กระทรวงพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน
กระทรวงวิทยาศาสตร์
    และเทคโนโลย
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงเทคโนโลยี
     สารสนเทศและการสื่อสาร
กระทรวงวัฒนธรรม
สนง.หลักประกันสุขภาพฯ
กรมประชาสัมพันธ์
กทช.
กรมพัฒนาชุมชน
กรมสรรพากร
สำนักงานสลากกินแบ่งฯ
สำนักงาน ป.ป.ส.
การท่องเทียวฯ
หนังไทยในอดีต
สปสช.เขต 8 อุดรธานี
 
 

 
 

www.free-counter-plus.com
Update 2016-01-28
เริ่มใช้เมื่อ 7 ธันวาคม 2550