"วิทยุชุมชนคนของแผ่นดิน นาโพธิ์เรดิโอ FM.8825MHz."รักในหลวง ห่วงชุมชน คนของแผ่นดิน สร้างถิ่นไทยเจริญ"

ฟังรายการจากวิทยุออนไลน์
Naphoradio Online 24 Hrs.
สรุปข่าวประจำวัน โดย ประสงค์ เนืองทอง
รายการ อรุณสวัสดิ์กุสุมาลย์ มณฑล

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3
เวลา 06.00-07.00 น.เว้นวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์

สุพจน์ ลอยพิลา
-เปิดโลกการศึกษาสู่อาเซี่ยน ช่วง คนกันเอง

จันทร์-ศุกร์ 14.00-15.00 น.

เมฆ เมืองนคร
-ลูกทุ่งสนธยา
-เครดิตยูเนี่ยนสัมพันธ์
จันทร์-ศุกร์ 18.00-20.00 น.

นาโพธิ์น้อย ม.7
หอกระจายข่าว
Radio Lessons and events of the Bible. ฟังรายการ"ตามรอยพระคัมภีร์ ทุกวัน

 
 

ประวัติบ้านโคกม่วง
                                                             หนึ่งในหมู่บ้านเก่าแก่ของชุมชนไทโส้ 
                                                                                           ประสงค์ เนืองทอง ศ.ศบ. : เรียบเรียง

 

 


              พ่อแพง ใยปางแก้ว อายุ ๗๐ ปี ( พ. ศ ๒๕๔๑) คนพื้นเพบ้านเมืองเก่ากุสุมาลย์ เล่าว่าตอนที่ท่านเข้ามาอยู่ที่บ้านโคกม่วงขณะนั้น
ท่านมีอายุประมาณ ๖ ขวบ ( ราว พ. ศ. ๒๔๖๕ : ผู้เขียน) ตอนนั้นหมู่บ้านนี้มีประมาณ ๓๕ หลังคาเรือน   บ้านโคกม่วงเป็นหมู่บ้านที่คน
ส่วนใหญ่แตกมาจากบ้านฮ้าง(ส่วนหนึ่งของเมืองเก่ากุสุมาลย์) บ้านฮ้างอยู่ห่างจากบ้านโคกม่วงไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๐.๕ ก.ม.
นอกจากนี้คนที่เคยอยู่บ้านฮ้าง จำนวนมากก็แตกไปอยู่ที่บ้านโคกสว่าง

       สาเหตุที่ผู้คนต้องไปอยู่ที่อื่น นั้นพ่อแแพงเล่าว่าเป็นเพราะเกิดความไม่สงบสุขขึ้นภายในหมู่บ้าน อันมีผลมาจากมีผีบอปผีโพง โดย
มาจากพวกเรียนวิชาอาคม เรียนคาถาแล้วไม่สามารถที่จะปฏิบัติตนตามข้อห้ามที่กำหนดไว้ ( ไม่สามารถคะลำได้ตามที่ได ้สัญญากับครูบา
อาจารย์ที่ตนไปเรียนวิชาด้วย) จึงกลายเป็นผีบอปผีโพง ทำความเดือดร้อนแก่คนอื่นไม่เว้นพี่น้องลูกหลานเด็กๆที่เป็นไข ้เป็นหวัดเล็กๆ
น้อยๆ ก็ตายลงเป็นจำนวนมาก จนหาเด็ก ๆ วิ่งเล่นตามบ้านก็ไม่มี ก่อนที่จะมีการตั้งหมู่บ้าน ที่หมู่บ้านฮ้างนั้น พ่อแพงเล่าว่าเดิมมีผู้คนอยู่
ที่ีู่่บ้านผักเน่านี้ก่อน และเมื่อบ้านเกิดความไม่สงบสุขก็จะมีการแยกย้ายกันออกไปอีก คนที่ยังอยู่ที่เดิมถือว่าเป็นพวกที่เป็นบอปเป็นโพง
ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไม่ได้ ย้ายไปที่โคกสว่าง ( น่าจะเป็นก่อน ๒๔๖๕ หลายปีเพราะเมื่อพ่อแพงมาอยู่โคกม่วงท่านก็มีอายุ ๖ ปีแล้ว)

      หมู่บ้านในระยะเริ่มต้น จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและขยับขยาย กว้างออกไปในทางทิศตะวันตกของตำแหน่งหมู่บ้าน เดิมลักษณะ



      ภูมิประเทศทางทิศตะวันออกจะลาดต่ำกว่าทางทิศตะวันตก หรือพื้นที่ จะเป็นที่เนินสูงมากขึ้นไปทางทิศตะวันตกมีห้วยสิม ตัดผ่าน
เนินจากทางทิศตะวันตกมาทางทิศตะวันออกผ่านบริเวณศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ที่ชาวบ้านเคารพนับถือบริเวณ สวนรุขเทวดาหรือลานเจ้าพ่อ
มเหศักดิ์ ดังกล่าวนั้นมีพื้นที่กว้างขวางพอสมควร มีความร่มรื่น สงบเย็น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของพื้นที่ วัดศิริมงคลปัจจุบัน
พ่อตัน ใยปางแก้ว อดีตผู้ใหญ่บ้านโคกม่วงและอดีต อ . ส. สังกัดกองร้อย อ. ส. อำเภอกุสุมาลย ์ เล่าว่า บ้านโคกม่วงเคยประสบความแห้ง
แล้งเป็นอันมากประมาณปี ๒๕๒๕ ชาวบ้านไม่มีข้าวกิน ใครมีข้าวมากก็ต้องแบ่งปัน ชาวบ้าน ชาวเมืองที่ไม่มีให้ไปกิน เมื่อถึงปีที่ได้ข้าว
้ข้าวอุดมสมบูรณ์ก็เอามาคืนโดยไม่คิดดอกเบี้ย คนพอจะมีกินก็ต้องดูแลช่วยเหลือ คนยากคน จนผู้นำต้องดูแลช่วยเหลือลูกหลานเสมอ

        เดิมนั้น บ้านโคกม่วงมีวัดอยู่ที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านเจ้าอาวาสวัดคือ หลวงปู่ลุน

      ภายหลังเมื่อหลวงปู่มรณภาพและจัดพิธีฌาปนกิจศพของหลวงปู่เสร็จแล้วจึงได้ย้ายวัดไปตั้งใหม่ที่บริเวณทิศใต้ใกล้กับห้วยสิม
( ปี พ. ศ ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐) และชื่อวัดในที่ตั้งใหม่ก็ใช้ชื่อวัดศิริมงคลตามเดิม

      พ. ศ ๒๕๔๐ บ้านโคกม่วง มีจำนวนประมาณ ๑๐๐ หลังคาเรือน ผู้ใหญ่บ้านชื่อนายคำเบี่ยง ใยปางแก้ว ชาวบ้านมีอาชีพทำนา
ทำไร่ พ่อแพงเล่าว่า   ความเป็น อยู่ของชาวบ้านถือว่าไม่เดือดร้อนเกินไปนักเพราะทำนามีข้าวกิน ไม่ถึงกับขาดแคลน  แต่ก็มีหนี้สิน
มากพอสมควร   หนี้สินส่วนใหญ่ เป็นหนี้ที่ ไปยืมเงิน ธกส. มาเพื่อซื้อรถไถนาเดินตามที่เรียกว่าควายเหล็กมาใช้นั่นเอง

        อาชีพการงานของชาวบ้านในปัจจุบันนอกจากทำไร่ทำนาก็ยังมีการออกไปทำงานต่างถิ่น โดยเฉพาะกรุงเทพฯ คนวัยรุ่นหนุ่มสาว
ออกจากบ้านเกือบหมดหมู่บ้านเพื่อ หางานทำ จะกลับบ้านประมาณปีละ ๒ ครั้งคือ ช่วงปีใหม่กับช่วงสงกรานต์หรือเดือนเมษายนของ
ทุกปี และมักจะเอากฐินผ้าป่ามาทอดที่หมู่บ้านร่วมกับคนกรุงเทพฯด้วย
        ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านโคกม่วงอยู่กัน อย่างง่าย ๆ ทำนาได้ข้าวทำไร่ได้ผักข้าวโพดพริกมะเขือมันส่วนอาหารการกินก็จับกบ
จับเขียดหาเห็ดหาอยู่หากินกันไป


         ในอดีต นั้นกบเขียดปูปลานกหนูปูปีกมีมากมายไม่อดอยากแต่ปัจจุบันหาได้ยากมากขึ้นกว่าเก่า มากเนื่องจากมีความแห้งแล้งมาก
ขึ้น และการที่มีคนมากขึ้นก็ทำให้สัตว์เล็กสัตว์น้อยลดจำนวนลงเป็นอันมาก
          พ่อแพง ใยปางแก้ว กล่าวว่าแต่เดิมไปนาไปไร่ไม่ต้องทำกับข้าวไปหาเปิดตามใบไม้ใบตองก็จะได้กบเขียดปูปลามากมาย
เอามาทำอาหาร กินกันสบายๆ

                                 
ที่ตั้ง พร้อมแผนที่สังเขป

         บ้านโคกม่วง ตั้งอยู่ในตำบลนาโพธิ์ ห่างจากอำเภอกุสุมาลย์ ไปทางทิศตะวันตก 8 กิโลเมตร
อาชีพ
         ชาวบ้านม่วง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ คือ ทำนาและทำไร่ปลูกยาสูบเป็นอาชีพเสริม ศาสนา ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
มีวัดประจำหมู่บ้านคือ วัดศิริมงคล เป็นศูนย์ร่วมจิตใจชาวบ้านม่วง  

  ลักษณะทั่วไป

         เนื้อที่ 2 , 600 ไร่ ใช้ทำการเกษตร 1 , 950 ไร่ - จำนวนครัวเรือน 130 ครัวเรือน
         จำนวนประชากรทั้งหมด 658 คน(ชาย 321 คน หญิง 337 คน)

ลักษณะภูมิประเทศ

          บ้านโคกม่วงถูกล้อมรอบด้วยทุ่งนาและลำห้วยสิ่ม โดยทั่วไปมี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูร้อน  ฤดูหนาว

สภาพเศรษฐกิจ


             รายได้เฉลี่ย 21 , 000 บาท/คน/ปี - ครัวเรือน
             มีการอ้อมร้อยละ 90 % ต่อครัวเรือนทั้งหมด ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำนา
             หลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วได้ชาวบ้านบางส่วนจะไป รับจ้างทั่วไปที่กรุงเทพ
             ทำการปลูกมะเขือเทศ และปลูกยาสูบ เนื้อที่ประมาณ 300 ไร่

สภาพสังคม
             สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านโคกม่วงมีความมั่นคงถาวร มีการจัดบ้านเรือนถูกสุขลักษณะ ครอบครัวมีความอบอุ่นประชากร
ส่วนใหญ่ มีสุภาพแข็งแรง คนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 70 % เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน
ครัวเรือนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านโคกม่วง ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งในหมู่บ้านและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน

ประเพณี / เทศกาลประจำปี/วัฒนธรรม



   
-ในเดือนเมษายนของทุกปีชาวบ้านจะร่วมใจกัน จัดงานบุญประจำปี
- ประเพณีลงสนาม หรือ ไหว้ผีบรรพบุรุษ ผีน้ำ ผีนา ผีมูล
จัดขึ้น ในเดือนเมษายน ก่อนเทศกาลสงกรานต์ ของทุกปี

วัฒนธรรมและประเพณีที่อนุรักษ์ : การเล่นสะโลอ๊อหรือสะลา (ชมวีดีโอการเล่นด้านล่าง )



ผลิตภัณฑ์ของชุมชน ชาวบ้านโคกม่วงจะร่วมกลุ่มกันทอผ้าในช่วงหลังทำนา กลุ่มทอผ้าแก๊บ



   




การท่องเชิงอนุรักษ์/หรือสถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้าน/ชุมชน

สถานท่องเที่ยวของบ้านโคกม่วงเพื่อการศึกษาธรรมและความร่มเย็น
มีพระธาตุเจดีย์หลวงปูลุ่น ที่วัดศิริมงคลบ้านโคกม่วง


สถานที่พักในชุมชน
สถานที่พักเพื่อการศึกษาธรรม คือ วัดศิริมงคล

ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้บ้านโคกม่วง
จัดแสดง ลานวิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทโส้
ตั้งในปี 2556 อยู่บริเวณโรงเรียนบ้านโคกม่วง ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลลย์ จ. สกลนคร

การเดินทางไปหมู่บ้าน

เดินทางจากตัวอำเภอกุสุมาลย์ไปบ้านโคกม่วงมี 3 เส้นทาง
1. แยก ร.ร.อนุบาลกุสุมาลย์ไปทางบ้านอีกุดไปบ้านโคกสว่างและเข้าบ้านโคกม่วงระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร
2. เข้าทางแยกไปบ้านเมืองเก่าเข้าบ้านโคกม่วง ระยะทาง 6กิโลเมตร 3. เข้าทางบ้านนาโพธิ์ตามทางหลวงชนบทถึงบ้านโคกม่วง ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

การติดต่อ
ติดต่อสอบถามข้อมูลบ้านโคกม่วง ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านโคกม่วง เลขที่ 51 หมู่ 2 ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร 47210
ปัจจุบัน ผุ้ใหญ่บ้าน นายอำพร พูลเพิ่ม
สมาชิกสภา อบต. นายสีทอง ลือวันคำ, นางวิไล อินกะสุมาลย์
คณะกรรมการศูนย์วัฒนธรรมไทโส้บ้านโคกม่วง : นายสนั่น ใยปางแก้ว

                                                                                                        ที่มา : ประวัติศาสตร์ไทโส้บ้านโคกม่วง โดย ถิรธมโมภิกขุ ( ๒๕๔๓)
                                                                   ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้วัดศิริมงคล บ้านโคกม่วง ต. นาโพธิ์ อ. กุสุมาลย์ จ. สกลนคร
และรวบรวมเรียบเรียง 2550 ประสงค์ เนืองทอง

 


 

สะโลอ๊อหรือสะลา

สะโลอ๊อหรือสะลา

การเล่นสลาของชาวไทโส้นั้น เดิมเป็นพิธีกรรม และต่อๆ ปรากฎว่า นำมาเล่นในกลุ่มหนุ่มสาวและกลุ่มเด็ก มีการดัดแปลงรูปแบบการเล่นให้สอดคล้องกับกาลเวลา ทั้งนี้เพื่อความสนุกสนาน
หากแต่ยังคงเค้าของความเป็นประเพณีดั้งเดิมอยู่หลายประการ

สะโลอ๊อหรือสะลาเป็นพิธีกรรมของชาวโส้โบราณ ซึ่งพิธีกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตชาวไทโส้
ในยุคอดีต อยู่สองประการ กับการบนบานหนึ่ง และกับความดีใจหนึ่ง

การเล่นสลากับการบนบานนั้น

ปัจจุบันค่อนข้างหาดูได้ยาก เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อ เมื่อคนในบ้านหรือในเรือนนั้น ได้ทำล่วงเกินเจ้าที่ ผีนา เป็นเหตุให้คนในบ้านหรือในเรือนนั้นอยู่ไม่เป็นสุข ก็ต้องไปพึ่งหมอเลขหรือหมอธรรม หรือหมอผี ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเคารพนับถือ
ของคนในหมู่บ้าน หากหมอเลขหรือหมอธรรมดังกล่าวทายว่า ผิดจ้าวที่ ล่วงเกินจ้าวนา คนในบ้านนั้นหรือในเรือนนั้น
จะต้องไปทำการบนบานเอาไว้ เพื่อห้อาการดีขึ้นภายในสามวัน เจ็ดวัน หากหายก็จะทำการแก้ ตามบนบานเอาไว้
บางคราวก็ใช้บนบานกับสัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ที่หาย ขอให้ได้พบภายในสามวัน เจ็ดวัน เหมือนกัน
เมื่อครบวันที่กำหนดวันที่บนบานไว้ ปรากฎว่าอาการดีขึ้น ของที่หายพอทราบข่าวบ้าง ชาวไทโส้ก็จะทำกา
สะลาหรือสะโลอ๊อ

พิธีกรรมแบบบนบานนี้ เกี่ยวข้องกับสิ่งลี้ลับ เหนือความคาดหมาย เหนือธรรมชาติ ชาวไทโส้

มีความเชื่อว่า ผู้ที่จะทำการประกอบพิธีกรรม หรือจัดทำพิธีกรรมนี้ จะต้องเจ็บไข้ได้ป่วย หรือสัตว์ สิ่ง

ของต้องหายก่อน จึงจะกระทำได้ พิธีกรรมนี้ จึงไม่นิยมประกอบพิธีให้คนทั่วไปได้เห็นนัก

การประกอบพิธีกรรมแบบบนบานของชาวไทโส้นี้ จะมีเหล้าหนึ่งไห กับไก่ที่ต้มสุกแล้วหนึ่งตัว เทียนห้าคู่ ดอกไม้ห้าคู่ ไม่มีการร้องรำทำเพลงหรือการเต้นรื่นเริงยินดี เพียงแต่นำของแก้บนบาน ไปประกอบพิธีสะโลอ๊อหรือสะลา
ณ จุดที่ล่วงเกินจ้าวที่ ผีนา เป็นอันเสร็จพิธี

พระนิพนธ์ โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จากหอสมุดแห่งชาติ เรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาคที่ 4 ว่าด้วยเที่ยวมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดรและมณฑลร้อยเอ็ด ครั้งนั้น

เมื่อตรวจราชการถึงเมืองกุสุมาลย์มณฑล ตอนหนึ่งความว่า “ เมื่อวันที่ 13 มกราคม ( 2450) 99

พระอรัญอาสา ผู้ว่าราชการเมืองกุสุมาลย์ กับกรมการกำนันผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรชายหญิง พากันมารับเป็นอันมาก
ชาวเมืองนี้เป็นข่า ที่เรียกว่ากะโซ้ เดิมมาจากเมืองมหาไชยกองแก้ว ผู้หญิงไว้ผมสูง แต่งตัวนุ่งซิ้น สวมเสื้อกระบอกย้อมคราม
ห่อผ้าแถบ ผู้ชายแต่งตัวอย่างคนชาวเมือง แต่เดิมว่านุ่งผ้าขัดเตี่ยว ไว้ชายข้างหน้าชายหนึ่ง ข้างหลังชายหนึ่ง
มีภาษาที่พูดคล้ายสำเนียงมอญ แล้วผู้ชายมีการเล่น เรียกว่าสะลา

คือมีหม้ออุ ตั้งกลาง แล้วคนต้นบทคนหนึ่ง คนสะพายหน้าไม้และลูกสำหรับยิง คนหนึ่ง คนตีฆ้องซึ่งเรียกว่าพะเนาะคนหนึ่ง
คนถือไม้ไผ่ท่อนสามปล้อง สำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะ สองคน คนถือชามสองมือ สำหรับติดเทียนรำ คนหนึ่ง
คนถือก้นตะแกรงขาดสองมือ สำหรับรำคนหนึ่ง แล้วคนถือมีด ถือสิ่วหัก สำหรับเคาะจังหวะคนหนึ่ง รวมแปดคน
เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมา พอได้พักหนึ่ง ก็ดื่มอุ และร้องรำต่อไป ดูสนุกสนานกันเองไม่ใคร่อยากเลิก เวลาเลิกแล้ว
ก็ยังฟ้อนกันเรื่อย ตลอดทางไป ”

สะโลอ๊อหรือสะลาแบบดีใจ

พิธีกรรมนี้ ชาวไทโส้นิยมทำกันโดยทั่วไป เป็นการ แสดงออกถึงความยินดี ดีใจ การต้อนรับขวัญก็ได้ ต้อนรับเจ้านายใหญ่โตก็ได้
ผู้แสดงหรือประกอบพิธี ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอเลข หมอธรรม หรือหมอผี เพียงแต่ร้องรำได้ก็สามารถประกอบพิธีนี้ได้

เมื่อครั้งในอตีด จะทำการประกอบพิธีสะลาหรือสะโลอ๊อ โดยชาวไทโส้ที่เป็นพรานกับคณะ เมื่อครั้งไปล่าสัตว์ พอได้สัตว์มา
ก่อนจะนำกลับบ้าน และออกจากป่าถึงชายป่า คณะของนายพราน จะทำพิธี
สะลา หรือ สะโลอ๊อ โดยเอาเครื่องมือของการล่าสัตว์
พร้อมสัตว์ที่ล่าได้ วางตรงกลาง นำสัวต์ที่ล่าได้ส่วนหนึ่งมาทำอาหารประกอบพิธีกรรม ส่วนเครื่องมือล่าสัตว์
ก็เอามาใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี เอามาตี เอามาเคาะ ให้จังหวะตามผู้ร้องรำ สร้างความสนุกสนานให้กับนายพรานและคณะ เป็นยิ่งนัก

คำร้องที่ประกอบพิธีนั้นก็จะร้องบรรยาย ขอบคุณจ้าวป่า พร้อมขอขมาจ้าวที่ไ ปในตัว โดยจะเริ่มต้นร้องรำทำเพลงแล้วเดินรอบสัตว์
และเครื่องมือที่วางอยู่ตรงกลางเวียนซ้ายสามรอบ จากนั้นจึงหยุดดูอุหรือดูดไห ทุกๆ คนพร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณจ้าวป่า ขอขมาเจ้าที่ ไปในตัว
เมื่อดูดอุหรือดูดไหครบทุกคนแล้ว คณะนายพรานดังกล่าวก็จะเดินร้องรำทำเพลงว นรอบสัตว์และเครื่องมือล่าสัตว์ดังกล่าวย้อนเวียนขวาอีกสามรอบ
จากนั้นทุกคนจึงหยุดดูอุหรือดูดไหอีกครั้ง แล้วจึงนั่งล้อมวง นายพรานหรือผู้มีอายุจะนำสัตว์ที่ประกอบพิธีส่วนหนึ่ง มาแบ่งเพื่อขอบคุณจ้าวที่ ขอขมาจ้าวป่า และอีกส่วนที่เหลือจะนำมารับประทานร่วมกัน

การประกอบพิธีนี้จะกระทำทุกครั้งที่ทำการล่าสัตว์หรือจับสัตว์ใหญ่ๆ ได้เท่านั้น ชาวไทโส้ไม่ ประกอบพิธีกรรมนี้เมื่อจับสัตว์เล็กๆ ได้

นอกจากนี้ ชาวไทโส้มีความเชื่อว่า การประกอบพิธีกรรม นี้เพื่อขอบคุณจ้าวที่ ขอขมาเจ้าป่า เนื่องจาก เมื่อครั้งก่อน ผู้มีคาถาอาคม จะกลายร่างเป็นสัตว์ต่างๆ เพื่อท่องไปในป่ามากมาย การจับสัตว์ป่า จึงอาจไปล่วงเกินจ้าวป่า หรือจับสัตว์ที่กลายร่างมาได้
ก่อนจะนำสัตว์ที่จับได้กลับบ้าน จึงต้องทำพิธีกรรมนี้ก่อน ทุกครั้งไป

การเล่นสะลาหรือสะโลอ๊อของชาวไทโส้นี้ คนเฒ่าคนแก่เล่ากันต่อๆ มาถึงความสนุกสนานของรูปแบบเล่นที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
และยุคสมัย ประกอบกับบางคนเคยเล่นเมื่อครั้งยังเด็ก นายสนั่น ใยปางแก้ว อายุ 47 ปี ชาวไทโส้บ้านโคกม่วง ตำบลนาโพธิ์ เล่าว่าเคยเล่นสะลาหรือสะโลอ๊อนี้เมื่อครั้งยัง

  

เด็ก บางคนมสมุติตนเองเป็นควาย บางคนเป็นหมู คนไหนสมมุติตนเองเป็นหมู ก็จะร้องอี๊ดๆๆ คนไหนเป็นควาย ก็จะร้องแบบควาย แล้วฟ้อนวงกลมรอบต้นไม้ บ้างก็ปรบมือ บ้างคนก็ร้องรำทำเพลง สนุก ครื้นเครงกันไป

 

อุปกรณ์และความสำคัญ

 

  • ฆ้อง หรือพะเนาะ ใช้ตีเพื่อแสดงถึงความยินดีรับขวัญ หรือต้อนรับเจ้านายใหญ่โตมาเยือน
  • เหล็ก มีลักษณะเป็นเหล็กแบน หรือเศษมีดหัก สิ่วหัก พร้าหัก ดาบหัก แต่ต้องเป็นเหล็กกล้า ใช้สำหรับทำให้เกิดประกายไฟ
  • หินหรือเศษไห ใช้คู่กับเหล็กกล้า สำหรับทำให้เกิดประกายไฟ
  • ชามหรือถ้วยสำหรับใส่อาหาร
  • กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ 10 ซม. ใช้บรรจุปุยฝ้ายหรือปุยดอกงิ้ว
  • ปุยดอกฝ้ายหรือปุยดอกงิ้ว ใช้เป็นชนวนติดไฟ บรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่
  • แห อุปกรณการจับปลา
  • สุ่ม สานด้วยไม้ไผ่ ปิดด้วยใบไม้ใหญ่ ใช้สำหรับกำบังตนครอบตัวนายพราน
  • หน้าไม้ ลูกดอก อุปกรณ์การล่าสัตว์
  • มีด พร้า หรือของมีคม ใช้สำหรับตัดไม้ ฟันแทง สัตว์ป่า
  • ฃ้อง สานด้วยไม้ไผ่ ใช้เก็บหรือบรรจุสัตว์ที่จับได้และเช่น ปลา เมื่อจับปลา กิ้งก่า เมื่อ ล่าสัตว์ในป่า เป็นต้น
  • กระบอกไม้ไผ่ ไม้ไผ่ลำใหญ่ ใช้บรรจุน้ำดื่มขณะเดินป่า และจะใช้กระทุ้งดิน เมื่อประกอบพิธีกรรม
  • ส่วนพิณ แคน และกระจับปี่ ในปัจจุบัน นำมาใช้ประกอบเพื่อความครื้นเครง สนุกสนาน ตามยุคของกระจับปี่และพิณ แคน

  

“ วัฒนธรรม ประเพณีไทย แต่โบราณ สืบทอดมากับ ลูกหลาน หาช้าไม่

เราจงมา ฟื้นฟู ประเพณีไทย สืบสานไว้ ให้คงอยู่ คู่แผ่นดิน ฯ“

 

 

**************************

 

 

  

ขอขอบคุณ

 นายสนั่น ใยปางแก้ว และพี่น้องชาวบ้านโคกม่วง : ข้อมูล

นายประสงค์ เนืองทอง ศศ . บ. ผู้สัมภาษณ์/เรียบเรียง/สืบค้น

 


 
 

 
 




 
 
บริการดาวน์โหลด
ตารางการอบรมหลักสูตรพุทธวจน วังสวนกล้วย อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร
สารวัดท่าแร่ ปีที่29 ฉบับที่25 สัปดาห์ที่12 เทศกาลธรรมดา 22-28 มิถุนายน14
สารวัดปีที่ 29 ฉบับที่ 23 สมโภชพระจิตเจ้า 8 - 14 มิถุนายน14
 
 
MovieOnline1Online 2  
TV Online
Radio Online  ชมวีดีโอ สดจากห้องส่งนาโพธิ์
Radio Vatican  
รุ่งอรุณวิทยา
วิทยุรัฐสภา
อสมท.สกลนคร
ดอกคูนเรดิโอ สัมฤทธิ์โปรโมชั่น
พันธมิตร วาริชเรดิโอ
สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ
     และโทรทัศน์ จังหวัดสกลนคร
วิทยุแห่งประเทศไทย จ.สกลนคร
florafm-ฟลอร่ามิวสิค
สถาบันพุทธวจนวังสวนกล้วย
ข่าวสาร จาก
วัดนักบุญ
มารีอามักดาเลนา

ประมวลภาพงานมงคลสมรสบิว
2013-11-23

รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน
ประวัติอาเซียน10ประเทศ
Asean Radio Stations
ฟังเพลงและรายการวิทยุจากประเทศอาเซี่ยน
more Cambodia Brunei Darussalam   Myanmar
Philippines Malaysia
All Asia Radio Station Singapore Vietnam Laos


 
 

ซิสเตอร์
สังวาลย์ เนืองทอง


ซิสเตอร์
นวลมณี ถิ่นวัลย์




ซิสเตอร์
ส่องแสง ถิ่นวัลย์


ซิสเตอร
โลซาแห่งลีมา
รัตนากร มะหัตกุล




เซอร์
วรรณา เนืองทอง




  ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 12
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2557


สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์
วิทยุและโทรทัศน์ จังหวัดสกลนคร

ร่วมงานแถลงข่าว
Robinson Futsal Cup 2014
ณ โรบินสัน สาขาสกลนคร
เมื่อวันอังคารที่10 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 11
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2557

ประมวลภาพ คสช
คืนความสุขสู่ประชาชน

ณ ศาลาประชาคม วัดคาทอลิกนาโพธิ์
มีผู้ร่วมงาน ราว 300 คน
เมื่อวันพุธที่ 4 มิถุนายน 2557


สรุปผลการปฎิบัติงานสหกรณ์
เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
ระดับกลุ่ม รายการรับวันนี้
จำนวน 36,199 บาท
อนุมัติเงินกู้ 115,500 บาท


อาทิตย์ต้นเดือนที่ 1 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดนัด เช้า ครั้งที่ 3
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์ หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน 2557


ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 10
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี ตำบลนาโพธิ์

หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2557


รวมประกาศ
คณะรักษาความสงบแห่งชาต
(สื่อ-สหกรณ์)
National peace and Order Maintaining Council 24/05/2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 32 /2557


ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 9
ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2557


พล.ต.ธนกร จงอุส่าห์
ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสกลนคร
ประธาน กอ.รส. จังหวัดนัดหมายพบสื่อมวลชน

ณ สโมสรทหารจังหวัดสกลนคร
เมื่อ 21 พฤษภาคม 2557
โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ160คน






ประมวลภาพ ตลาดเย็น ครั้งที่ 6
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่ เออีซี
ตำบลนาโพธิ์


หรือ ตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557


ประกาศสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
นาโพธิ์ 125 จำกัด
แจ้งผลการดำเนินงานระดับกลุ่ม

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2557
(วันอาทิตย์ต้นเดือน)


ตลาดเช้า และตลาดเย็น
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2557
เวทีและบรรยากาศตลาดพอเพียงโพธิ์ทอง
ที่นาโพธิ์ เมื่อ 1 พฤษภาคม 2557

ขอขอบคุณ ศิลปิน ครูเพลงและพิธีกร
แดน ดวงตะวัน, หรั่ง มงคล อาจารย์โย
บ่าวยะ ชมรมคนรักศิล พระอาจารย์ประถม



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::


สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557
ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ
ณ โรงแรม ทาวน์ อิน ทาวน์ กทม.


เมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2557/2014


ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
แถลงข่าวประชาสัมพันธ์
การระดมทุนเพื่อบูรณะฯ
ยอดฉัตรองค์พระธาตุเชิงชุม

องค์พระธาตุเชิงชุม เมื่อ 24 ม.ย.2557


แนะนำปุ๋ยอินทรีย
์ตราสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
กระสอบละ 400 บาท

สอบถามและสั่งซื้อได้ที่
089 863 3349


ประมวลภาพ
พิธีล้างเท้าอัครสาวกพิธีเฝ้าศิล
ที่วัดนาโพธิ์ 2014


เมื่อวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์
17 เมษายน 2557



ตลาดพอเพียงโพธิืทอง
ทุกเย็นวัน พฤหัสบดี
ตลาดเช้าทุกวันที่ 1 ของเดือน



ชมประมวลภาพ พิธีรดน้ำขอพร ผู้สูงอายุ วันสงกรานต์
ณ ศาลาวัดคาทอลิกนาโพธิ์


อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
เมื่อวันอาทิตย์ีที่ 13 เมษายน 255
7

ชมประมวลภาพ พิธีแห่ใบลาน
วัดคาทอลิกนาโพธิ์ ตำบลนาโพธิ์
อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2557


สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ 125 จำกัด
นายประสงค์ เนืองทอง ประธานกรรมการ
และคณะกรรมการบริหาร

ออกหน่วยสร้างความรู้ความเข้าใจ
กระบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
และรับสมัครสมาชิกใหม่ณ
ที่ทำการผู้ใหญ่บริสุทธิ์ ผาละพัง
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่3 บ้านบอน

วันอังคารที่ 8 เมษายน 2557
มอบสวัสดิการ สก.2 แก่สมาชิก
ชมสรุปผลและภาพกิจกรรม

วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2557
วันอาทิตย์ต้นเดือน


ประมวลภาพพิธีเปิดโครงการ
ตลาดสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงสู่เออีซี ตำบลนาโพธิ์

คุณพ่อชำนาญ บัวขันธ์
ประธานพิธีและที่ปรึกษา
เป็นประธานกรรมการ
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557

ประกาศสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์ ฯ
แจ้งผลการดำเนินงานระดับกลุ่ม
เมื่อสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2557

และวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2557 วันอาทิตย์ต้นเดือ



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::



เปิดสอนการใช้โปรแกรมและการสร้างเว็บเพจ
การเชื่อมต่อและส่งข้อมูล ภาพ เสียง วีดีโอ ขึ้นเว็บตัวเอง
การทำ วิทยุ ออนไลน์ และ วิดีโอออนไลน์

และแนะนำการใช้งานโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
7-11 เมษายน 2557
ระหว่างเวลา 13.30 - 15.30 น.
รับประกัน ใช้งานได้ 100 %

 

ชมประมวลภาพงาน
"สายสัมพันธ์วันนักข่าว"

สมาคมนักข่าวฯ สกลนคร
เมื่อ 5 มีนาคม 2557



ต้องการขายบ้าน 1,500,000.-
ที่ศรีสงคราม จ.นครพนม

รายละเอียด

ร่วมประชุมสมาคมนักข่าวฯ
จังหวัดสกลนคร จัดงานวันนักข่าว
5 มีนาคม 2557

ณศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง

อ.เมือง จ.สกลนคร
บัตรราคา โต๊ะละ ๒,๔๐๐ บาท
สอบถามที่ ๐๘๑-๐๕๑๘๑๑๕



:: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ::




นายประสงค์ เนืองทอง ประธานกรรมการ และคณก.ฯ

ร่วมแสดงความอาลัย
นายสมคิด หงษ์ศรีเมือง
สมาชิกเครดิตฯเสียชีวิต
เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2557


ประมวลภาพฉลองวัดคาทอลิกนาโพธิ์
14 กุมภาพันธ์ 2014


ชมหน้า 1


ประมวลภาพฉลองวัดคาทอลิกนาโพธิ์
14 กุมภาพันธ์ 2014

ชมหน้า
2

บัดนี้ คณะกรรมการฯ
ได้ดำเนินการจดทะเบียน
เป็นสหกรณ์แล้ว

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556ในชื่อ
“สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์125 จำกัด”

: ปฏิทินสงฆ์สัมพันธ์
   อัครสังฆมณฑล
   ท่าแร่-หนองแสง ::


ชมการเล่นสะโลอ๊อหรือสะลา
ฟังประวัติความเป็นมา

ของชาวโส้บ้านโคกม่วง
ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร



วันนี้ วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
ผมเลือกใช้ NanoBridge M5-25
เพื่อติดตั้งระบบ ส่ง Wifi
ระยะไกล 4.4 Km.


ประมวลภาพ พิธีฌาปนกิจศพ
คุณพ่อสมวน สุวรรณคำ

(บิดาคุณรัชนี สุวรรณคำ
ผู้ก่อตั้งนาโพธิ์เรดิโอ)

เมื่อ 25 มกราคม 2557


การประชุมใหญ่ครั้งแรก
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาโพธิ์
๑๒๕ จำกัด


๒๔ มกราคม ๒๕๕๗


พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ โอกาส ทำบุญโรงเรียน ประจำปี 2557

คุณพ่อ ธัญญา ศรีอ่อน
เจ้าอาวาสวัดนาโพธิ์ ประธานพิธ
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557


 




  ลาทีปีเก่า 2556   บ้านของเรา...ครอบครัวของเรา

เมื่อ 31 ธันวาคม 2013

Thailand Christmas Festival 2013
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
ขอเชิญรับชมบรรยา กาศค่ำคืน
วันคริสต์มาส 23 ธันวาคม ค.ศ. 2013


รับชมภาพการแห่ดาว
จากอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่



ชมภาพโครงการ ทำความดีเชิดชูบูชาพ่อ2554

-โครงการ
- คำมงคล ที่ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก
- ผู้แจ้งความประสงค์จัดตั้งโรงทานปี 2554
-
ประมวลภาพกิจกรรมที่ 1 ศาสนพิธี
 
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554
- สรุปและประมวลภาพกิจกรรมที่ 2 โรงทาน

สรุปและประมวลภาพงานเชิดชูบูชาพ่อ
และ 9 ปีนาโพธิ์เรดิโอ
กิจกรรมที่ 2 
วาดภาพ ร้องเพลง โรงทาน
หมอลำย้อนยุค 

เมื่อ 8 ธันวาคม 255
6




ชมการเล่นสะโลอ๊อหรือสะลา
ประวัติและวิธีการเล่น
ของชาวไทโส้บ้านโคกม่วง
ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร

ขาย สินค้าชุมชน
(รายละเอียดชมสินค้าและ
OTOP ชุมชน )
08 3290 1164 ตลอดปี


งานมหกรรมบัว
    อุทยานบัวหนองหาร
    วันแรก 2010-10-20

 
ยือนถิ่นภารตะ สักการะสถาน
   ประสูติตรัสรู้และปรินิพพาน
   ตอน เยี่ยมบ้านนางสุชาดา

  ประวัติความเป็นมาวันคริสต์มาส

  เยือนถิ่นภารตะ สักการะสถาน
    ประสูติตรัสรู้ และปรินิพพาน
    ตอน แม่น้ำเนรัญชรา


สารนาถ ธรรมเมกขสถูป
    สถูปผู้เห็นธรรม
    ศาสนสถานโบราณ


รวมบทความ
และภาพประทับใจ
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
วันแรกที่โรม
ตุลาคม 2007
พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ
เปิดปีการศึกษา 2009-2010
และอำลาพี่น้องคนไทยในโรม
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้
    ของพระพุทธเจ้า
    ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน


 

ฟังเพลงกับ....
หนุ่มน้อย คนภูไท
นาโพธิ์ถิ่นภูไท
ภูไทสัมพันธ์
ภูไทใจช้ำ

เยือนสิงคโปร์

20 กันยายน 2012

รสชาดโจ๊กกบหม้อดิน

ที่ Lavender สิงคโปร์

วันชื่น-คืนสุข

Sheraton Tower Singapore
22 กันยายน 2
012

เที่ยวเกาะมหาสนุก

Sentosa 21 กันยาย 2012   

naphoradio WiFi ติดตั้ง
ชุดเชื่อมโยงเครือข่ายไร้สาย
ระยะไกล10-30 กิโลเมตร

ส่งไปที่ศูนย์ฯวังสวนกล้วย
เมื่อ ศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556


 

เกี่ยวกับวิทยุ


 
 
เพื่อนบ้านของเร

โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม
 โรงเรียนไพศาลวิทยา
โรงเรียนบ้านกุดฮู
โรงเรียนบ้านบอนสหราษฎร์ฯ
โรงเรียนบ้านม่วง
โรงเรียนบ้านอีกุด
โรงเรียนบ้านโคกม่วง
โรงเรียนอนุบาลย์กุสุมาลย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ม.เกษตรศาสตร์ ฉกส.
สนง.ขนส่งจังหวัดสกลนคร
ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร
อบจ.วัดสกลนคร
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร
ท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
สถานีตำรวจภูธร อ.กุสุมาลย์
เทศบาลตำบลกุสุมาลย์
เทศบาลตำบลท่าแร่
เทศบาลตำบลเชียงเครือ

สพท.สกลนคร เขต 1
สพท.สกลนคร เขต 2
สพท. สกลนคร เขต 3
มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดนครพนม
พัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร
โรงพยาบาลกุสุมาลย์
โรงพยาบาลสกลนคร
สำนักงานสาธารณสุขสกลนคร
คลื่นวิทยุระบบ FM.
     และวิทยุชุมชนจังหวัดสกลนคร
    (แยกรายอำเภอและคลื่นความถี่)

คนเขียนเพลง(ทีมงานครูสลา)
108 อาชีพ

ธนาคาร อัตราแลกเปลียน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
 ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพฯ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารไทยพาณิิชย์
 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 บมจ.ธนาคารกรุงไทย
 ธนาคารกสิกรไทย
 ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการส่งออก
      และนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารนครหลวงไทย
นาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
 นครธน จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารเอเชียจำกัด(มหาชน)
 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ
     ขนาดกลางและขนาดย่อมฯ
ซิตี้แบงค์ ไทยแลนด์
ธนาคารกรุงไทย ชาริอะฮ์
ธนาคารธนชาตจำกัด(มหาชน)
ธนาคารยูโอบี รัตนสิน
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
 ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด
      (มหาชน
)




อุตุนิยมวิทยา


กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

1
ดาวน์โหลดโทรฟรีทั่
วโลก
ส่วนราชการ หน่วยงาน
สำนักพระราชวัง
รัฐบาลไทย
สำนักนายกรัฐมนตร
นักเรียนไทยในสหรัฐฯ
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงพัฒนาสังคม
      และความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการท่องเที่ยว-กีฬา
กระทรางเกษตรฯ
กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัยพากรฯ
     และสิ่งแวดล้อ
กระทรวงพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน
กระทรวงวิทยาศาสตร์
    และเทคโนโลย
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงเทคโนโลยี
     สารสนเทศและการสื่อสาร
กระทรวงวัฒนธรรม
สนง.หลักประกันสุขภาพฯ
กรมประชาสัมพันธ์
กทช.
กรมพัฒนาชุมชน
กรมสรรพากร
สำนักงานสลากกินแบ่งฯ
สำนักงาน ป.ป.ส.
การท่องเทียวฯ
หนังไทยในอดีต
สปสช.เขต 8 อุดรธานี
 
 

 
 

www.free-counter-plus.com
Update 2014-07-02
เริ่มใช้เมื่อ 7 ธันวาคม 2550